Entries by suwatthana peet

บริหารความเสี่ยงยุค VUCA+ ด้วย COSO-ERM

บริหารความเสี่ยงยุค VUCA+ ด้วย COSO-ERM

 ภายใต้ความผันผวนทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน ที่สะท้อนจากปัจจัยชี้วัดที่สำคัญต่าง ๆ ทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2567) ที่ต่ำกว่าประมาณการ และต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน รวมถึง การตกต่ำอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการกดดันจากต่างประเทศ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศของเรา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ คือ ความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่ช่วยเพิ่มความยากให้กับการบริหารธุรกิจยุค VUCA เป็น VUCA+ ที่เรากำลังเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

   ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญให้องค์กรธุรกิจจำนวนมาก ทุกขนาด และทุกระดับ เริ่มตระหนักถึงการค้นหาเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ หรือ ERM (Enterprise Risk Management) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงต่าง ๆ และช่วยสร้างเสถียรภาพ รวมถึง โอกาสทางธุรกิจให้องค์กรในระยะยาวต่อไป โดยมีกรอบการจัดการความเสี่ยงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และ Fast Mini MBA เชื่อว่าจะเป็นวัคซีนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริหารธุรกิจไทยในวันนี้ ได้เป็นอย่างดี คือ COSO-ERM

COSO-ERM

   COSO คือ The Committee Of Sponsoring Organization หรือคณะกรรมการของ 5 สถาบันวิชาชีพในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนาแนวคิดการควบคุมภายใน (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจ ในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงขององค์กรธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

โดย COSO-ERM ในปัจจุบัน คือ ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่ได้พัฒนากรอบ (Framework) ให้สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อน ตั้งแต่ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเมือง ธุรกิจ หรือแม้แต่ภัยทางธรรมชาติ ภายใต้กรอบการแนวคิด 5 ด้าน ที่ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลวัฒนธรรมองค์กร และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์แก่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารองค์กรธุรกิจ คือ

1. การกำกับดูแล และสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Governance and Culture) คือกระบวนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ภายใต้ระบบกำกับดูแลที่โปร่งใส มีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ที่มีหน้าที่ระบุ และรายงานความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ แก่คณะกรรมบริหารของ Coke โดยตรง เป็นต้น

2. กลยุทธ์ และการกำหนดเป้าหมาย (Strategy and Objective-Setting) เป็นกระบวนการเชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงเข้ากับการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อรักษาสมดุลของเป้าหมายธุรกิจที่อาจจะมีความเสี่ยง ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร โดย Coke ได้พัฒนา Scenario Analysis สำหรับการประเมินผลกระทบทางธุรกิจจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อออกแบบแผนกลยุทธ์ธุรกิจขึ้นมารองรับ เช่น การกระจายความเสี่ยงจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไปสู่เครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล เมื่อลูกค้าเริ่มใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น เป็นต้น

3. การดำเนินงาน (Performance) เป็นการประยุกต์กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในกระบวนการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการระบุ ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ตอบสนองต่อความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างเหมาะสม โดย Coke ได้ออกแบบ Key Risk Indicators (KRIs) สำหรับติดตามความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างรอบด้าน และมีกลยุทธ์ตอบสนองที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อ KRIs แสดงให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำตาลและวัตถุดิบอื่น ๆ ที่อาจจะมีความผันผวนในอนาคต Coke จึงนำกลยุทธ์การจัดทำสัญญาซื้อวัตถุดิบล่วงหน้ามาใช้ทันที เพื่อลดความผันผวนของราคาน้ำตาลและวัตถุดิบ เป็นต้น

4. การทบทวน และปรับปรุง (Review and Revision) คือการตรวจสอบและปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงขององค์กรเป็นระยะ เพื่อปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง คือ ส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ที่ได้ปรับปรุงตามผลการประชุมทบทวนแผนความเสี่ยงทุกไตรมาส ของ Coke

5. การสื่อสาร และรายงาน (Information, Communication and Reporting) เป็นการสื่อสารข้อมูลความเสี่ยงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสม และจัดทำเป็นรายงานการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย โปร่งใส และทันเวลา โดย Coke จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารความเสี่ยงภายในองค์กร โดยใช้รายงานที่มีข้อมูลสรุปความเสี่ยงและกลยุทธ์การตอบสนองที่ชัดเจน ส่งตรงถึงผู้บริหารระดับสูงและทีมปฏิบัติการอยู่เสมอ

   การนำ COSO-ERM 2017 มาใช้ในองค์กร

   เมื่อต้องการนำ COSO-ERM 2017 มาประยุกต์ให้เป็นเครื่องมือสำคัญของการยกระดับการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จะมีแนวทางปฏิบัติโดยสังเขป คือ

1. ทำความเข้าใจกรอบ COSO-ERM 2017 โดยศึกษาหลักการและกรอบแนวคิดของ COSO-ERM 2017 ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในลักษณะของการวิเคราะห์แต่ละกรอบแนวคิด กับความสอดคล้องในบริบทการดำเนินธุรกิจและความต้องการขององค์กรของเรา

2. กำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ขององค์กร คือ การออกแบบกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ให้มีความชัดเจน เพื่อให้เราสามารถระบุความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรของเรา

3. สร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยง ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมกับการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ตั้งแต่การสร้างความตระหนักรู้ ถึงความสามารถระบุความเสี่ยง และรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย โปร่งใส และทันเวลา

4. ประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ด้วยการศึกษาและจัดทำรายการความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกขององค์กร พร้อมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านั้น ทั้งในด้านผลกระทบหรือโอกาสที่จะเกิดกับการดำเนินธุรกิจขององค์กร และสุดท้าย คือ การจัดลำดับความสำคัญของเสี่ยงตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่มีต่อองค์กร

5. ตอบสนองต่อความเสี่ยงด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะสม เป็นกระบวนการออกแบบกลยุทธ์ตอบสนองต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ขององค์กร เช่น

– การกระจายความเสี่ยง (Diversification) ด้วยการกระจายการลงทุน หรือฐานการตลาดและลูกค้า เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

– การป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้วยการใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนในตลาดเงิน

– การโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) ด้วยการถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังบุคคลภายนอก เช่น การทำประกันภัย เป็นต้น

– การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมแผนหรือกลยุทธ์ตอบสนองที่เหมาะสม

6ติดตามและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขององค์กร สามารถปรับปรุงแผนงานหรือกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

7. บูรณาการ COSO-ERM เข้ากับการดำเนินงาน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกรอบการดำเนินงาน (Performance) ของ COSO-ERM 2017 โดยตรง ด้วยการบูรณาการกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงกับกระบวนการทำงานขององค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทั้งด้านการป้องกันหรือลดผลกระทบที่จะเกิดกับการดำเนินงานขององค์กร รวมถึง การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการตลาดแก่องค์กร

8. ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการหนี่งของการสื่อสารข้อมูลความเสี่ยง และการบูรณาการ COSO-ERM 2017 เข้ากับการดำเนินงานขององค์กรให้บุคลากรได้รับทราบ เพื่อยกระดับความรู้ และทักษะการดำเนินงานของพวกเขาในการขับเคลื่อนองค์กรให้มีเสถียรภาพและโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว

9ประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจในยุค VUCA+ ที่มีพลวัตสูง จึงทำให้การประเมินความเสี่ยงขององค์กรต้องดำเนินการเป็นประจำ และคอยปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงขององค์กรให้ทันต่อสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

   การนำ COSO-ERM 2017 มายกระดับการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่นอกจากจะลดความไม่แน่นอนที่เราต้องเผชิญอย่างรอบด้านในทุก ๆ วันของการบริหารองค์กรและธุรกิจแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถให้เราสามารถบริหารธุรกิจไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งบุคลากร ผู้ถือหุ้น คู่ค้า และที่สำคัญที่สุด คือ ลูกค้าของเรา

   หากเชื่อว่า COSO-ERM 2017 คือ คำตอบของการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กรและธุรกิจในยุค VUCA+ ของคุณ Fast Mini MBA ขอแนะนำให้เริ่มต้นจากการศึกษากรอบ (Framework) ของ COSO-ERM 2017 ที่ www.coso.org ให้เข้าใจอย่างละเอียด สอบถามและปรึกษากับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ตรง เพื่อปรับใช้ COSO-ERM 2017 ตามบริบทขององค์กรและธุรกิจของคุณให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจระดับแนวหน้าต่าง ๆ ได้ทำและใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว

5 ทักษะ ของผู้นำประเภท Proactive

5 ทักษะ ของผู้นำประเภท Proactive

   ผู้นำประเภท Proactive Leader คือ ผู้นำองค์กร หรือ Team ที่สามารถปรับตัวและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงของ VUCA ซึ่งต้องการผู้นำที่สามารถคาดการณ์ วางแผน และดำเนินงานเชิงรุก เพื่อชับเคลื่อนองค์กร หรือ Team สู่เป้าหมายได้ และแน่นอนว่าคุณลักษณะดังกล่าว ย่อมแตกต่างจากผู้นำในกลุ่ม Poor Leader ที่จะรอให้ปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงคิดหาหนทางแก้ไข หรือที่เราจะพบได้มากกับผู้นำที่มักมีวลีประจำตัวว่า ให้เวลาแก้ไขปัญหาแทนเรา เพื่อหลีกเลี่ยง และไม่รับผิดชอบต่อปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง

 

Poor Leader vs. Proactive Leader : คุณอยู่ในกลุ่มไหน?

ลักษณะ

Poor Leader

Proactive Leader

วิธีคิด

ตั้งรับปัญหา แก้ไขเมื่อเกิดปัญหา หรือไม่รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

มองการณ์ไกล วางแผน และดำเนินการ และเตรียมพร้อมก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น

การตัดสินใจ

ลังเล ขาดความมั่นใจ

ตัดสินใจรวดเร็ว ด้วยการใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน

การสื่อสาร

ขาดความชัดเจน ไม่กระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

สื่อสารชัดเจน มีพลัง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และ Team อยู่เสมอ

การบริหาร

เน้นสั่งการ ไม่รับฟังความคิดเห็น

เปิดรับความคิดเห็นรอบด้าน และส่งเสริมการทำงานเป็น Team

 

Poor Leader vs. Proactive Leader : สถานการณ์ตัวอย่าง

   เป็นการจำลองสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบวิธีคิด ตัดสินใจ และการบริหารธุรกิจ ระหว่างผู้นำทั้งสองประเภทในธุรกิจที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

Poor Leader

  1. รอจนกว่าเทคโนโลยีใหม่จะเข้ามา Disrupt ตลาดอย่างรุนแรง แล้วจึงค่อยตื่นตระหนกหาทางแก้ไข
  2. สั่งTeam ให้เร่งพัฒนารูปแบบ สินค้า หรือธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อตอบโต้คู่แข่ง โดยไม่มีการวางแผนหรือวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
  3. ขาดการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และไม่รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงเรื่องที่น่ากังวลเท่านั้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ โอกาสที่องค์กรอาจจะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งที่ไม่รอช้าในการปรับตัว หรืออาจจะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในการพัฒนาสินค้า หรือธุรกิจใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

Proactive Leader

  1. ติดตามข่าวสารและแนวโน้มทางเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด คาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อธุรกิจในอนาคต
  2. จัดตั้งTeamเพื่อศึกษาและทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
  3. สนับสนุนให้Team มีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคDigital
  4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการทำงานเป็นTeam
  5. สื่อสารวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับรู้ร่วมกัน สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนร่วมมือทำงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป

   ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ องค์กรสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืน แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว รุนแรง และยังสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่ตลาด เช่น Jeff Bezos ที่สามารถพา Amazon ให้เติบโตจากร้านหนังสือ Online เล็ก ๆ สู่การเป็นธุรกิจ e-Commerce และ Cloud Computing ยักษ์ใหญ่ระดับโลก เป็นต้น

5 ทักษะของ Proactive Leader

   จากคุณลักษณะเชิงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Poor Leader และ Proactive Leader ในข้างต้น จึงเป็นที่มาของการรวบรวมเป็น 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้นำประเภท Proactive Leader ดังนี้

  1. Critical Thinking & Decision Makingคือ คุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถ “คิด” วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Emotional Intelligenceหรือที่เรามักเรียกว่า EQที่ Proactive Leader ต้องมีความเข้าใจ และสามารถบริหารอารมณ์ ทั้งของตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ Team ได้ดี
  3. Agility & Adaptabilityคือ คุณสมบัติการปรับตัว หรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว และอย่างเหมาะสม
  4. Communication & Influenceคือ ความสามารถด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิผล ชัดเจน มีพลังเชิงบวก ต่อการสร้างแรงบันดาลใจและการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ Team
  5. Innovation & Growth Mindsetหรือคุณลักษณะความเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ (Lifelong Learning) และพร้อมจะส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ขึ้นภายในองค์กร และ Team

การพัฒนาตนเอง สู่ผู้นำประเภท Proactive Leader

   หากพิจารณาจากผู้นำประเภท Proactive Leader ในประวัติศาสตร์จำนวนมาก อาจจะทำให้เราเชื่อว่าผู้นำเหล่านั้น เกิดมาพร้อมคุณสมบัติความเป็นผู้นำประเภท Proractive แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราสามารถที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และฝึกฝน เพื่อพัฒนายกระดับตนเอง สู่การเป็นผู้นำประเภท Proactive Leader ได้เช่นกัน คือ

  1. ปรับ Mindset ให้มีวิสัยทัศน์ เพื่อค้นหาโอกาสใหม่ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน เป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาด แทนที่จะรอให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ
  2. เรียนรู้ และพัฒนาทักษะการสื่อสาร ให้สามารถสื่อสารสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างชัดเจน สามารถโน้มน้าว หรือกระตุ้นพวกเขาให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมกันทำงานเป็น Team และอย่างมีเป้าหมาย
  3. เรียนรู้ และเพิ่มทักษะการบริหารสมัยใหม่ที่ทันกระแสความเปลี่ยนแปลง ผ่านการศึกษาด้วยตนเอง หรือหลักสูตรการศึกษาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เช่น MBA หรือ Mini MBA อย่างเช่นหลักสูตรต่าง ๆ ของ Fast Mini MBAที่มีชุดวิชาเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำแก่ผู้เข้าอบรม เป็นต้น
  4. Feedback & Self-Reflectionคือ การฝึกเปิดใจรับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาตนเอง องค์กร และ Team จากบุคคลรอบข้าง โดยปราศจากอคติ
  5. ลงมือทำทันที ด้วยการฝึกและสร้างอุปนิสัย คิด แล้วทำ

   การเป็นผู้นำประเภท Proactive Leader คือ กุญแจดอกสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ ที่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้สั่งการ หากแต่เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ รู้ และเข้าใจได้ล่วงหน้าถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก่อนจะส่งต่อไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมด้วยแรงบันดาลใจที่เข้มข้น ดังนั้น องค์กรที่มี Proactive Leader จึงเป็นองค์กรที่จะสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

โดยหลักสูตรต่าง ๆ ของ Fast Mini MBA อาจจะเป็นก้าวแรกของคุณ ในการพัฒนาทักษะสู่การเป็นผู้นำประเภท Proactive ที่เป็นที่ต้องการและจำเป็นขององค์กรต่าง ๆ ในยุค VUCA

 

เครื่องมือการตลาด MVP (สำหรับผู้เริ่มต้น) คือ เรียบง่ายที่สุด

เครื่องมือการตลาด MVP (สำหรับผู้เริ่มต้น) คือ เรียบง่ายที่สุด

Minimum Viable Product หรือ MVP ที่ Fast Mini MBA ได้เคยนำเสนอในภาพรวมถึงความเหมาะสมสำหรับการใช้เป็นเครื่องมือทดสอบสินค้าหรือธุรกิจใหม่ ที่ไม่เน้นการทุ่มเททรัพยากรด้านเงินทุน บุคลากร เทคโนโลยี และเวลาอย่างเต็มที่ เต็มรูปแบบ แต่มุ่งเน้นการเข้าถึงการทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจและการตลาดของสินค้าหรือธุรกิจที่ทดสอบด้วย MVP เป็นหลัก ภายใต้คำว่า เรียบง่ายที่สุดโดยมี Startup จำนวนมากใช้ MVP เป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจ จากศูนย์สู่ธุรกิจระดับพันถึงหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เช่น Airbnb หรือ Dropbox ที่เรารู้จักเป็นอย่างดี

Fast Mini MBA จึงเห็นว่าควรจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ MVP เป็นเครื่องมือทดสอบ Idea ธุรกิจสำหรับผู้บริหารธุรกิจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือ Startup ให้รู้จักและเข้าใจแนวคิดของ MVP เพิ่มเติม ตั้งแต่การจำแนกประเภทของ MVP องค์ประกอบที่ต้องมีในทุก MVP และแนวทางการประเมินผล รวมถึง ข้อควรตระหนักกับการใช้ MVP ในแบบฉบับของ Fast Mini MBA

ประเภทของ MVP

MVP ไม่ได้มีรูปแบบเดียวตายตัว แต่สามารถจำแนกหรือแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ตามลักษณะ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของสินค้าหรือธุรกิจที่เราต้องการทดสอบความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยแบ่งเป็น

  1. Concierge MVPเป็นรูปแบบการทดสอบความต้องการของลูกค้า โดยมีบุคลากรของเราเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าหรือธุรกิจใหม่กับลูกค้าโดยตรง จึงเป็น MVP ที่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าหรือตลาด ก่อนจะนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจ เช่น ในระยะแรกของการจะเพิ่มช่องทางหน้าร้าน Online และระบบe-Commerce ของ Pamelo Fashion มีจุดเริ่มต้นจากการให้พนักงานขายประจำร้าน เป็นผู้ให้คำแนะนำช่องทางการเลือกสินค้าจาก Catalogue ก่อนที่จะมีการจัดส่งสินค้าให้ถึงบ้านลูกค้าในภายหลัง เพื่อเป็นการจัดเก็บข้อมูลความต้องการและข้อเสนอแนะของลูกค้า จนได้บทสรุปสำหรับการพัฒนาหน้าร้าน Online และระบบ e-Commerce ของ Pomelo อย่างเต็มรูปแบบในเวลาต่อมา
  2. Wizard of Oz MVPเป็นรูปแบบการพัฒนา MVP ที่เสมือนเป็นสินค้าหรือธุรกิจที่เราได้พัฒนาแล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อทดสอบความสนใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พร้อมไปกับการออกแบบ ปรับปรุง และพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่ควบคู่ไปในเวลาเดียวกัน เช่น ธุรกิจผู้ให้บริการระบบบัญชีFlowAccount ที่เปิดให้บริการระบบบัญชี Online ผ่าน Website โดยที่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ สามารถใช้งานระบบบัญชี Online ของ FlowAccount ได้จริง หากแต่ในเบื้องหลังการทำงานของระบบดังกล่าว ยังเป็นการบันทึกและจัดทำบัญชีโดยบุคลากรของ FlowAccount เป็นต้น
  3. Single-Feature MVPเป็นการพัฒนาMVP โดยให้ความสำคัญกับจุดขายที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุดเพียงเรื่องเดียว ซึ่ง MVP ประเภทนี้ จะเหมาะกับสินค้าหรือธุรกิจที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี เช่น Grab ที่เริ่มธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เลือกที่จะทำ MVP ให้เป็น Application เรียกรถ Taxi ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในขณะนั้นเท่านั้น ก่อนที่จะขยายรูปแบบการบริการของธุรกิจ Grab ไปยังด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เข่น บริการรับส่งพัสดุ และอาหาร เป็นต้น
  4. Landing Page MVPเป็นการสร้างช่องทางผ่านสื่อ โดยเฉพาะสื่อ Digital และสื่อสังคม Online เพื่อนำเสนอสินค้าหรือธุรกิจใหม่ ให้ผู้ใช้หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order) บน Landing Page นั้น ๆซึ่งการทำ MVP ดังกล่าว จะทำให้เราสามารถวัดผลความสนใจของลูกค้าได้ล่วงหน้า และใช้เป็นแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง หรือกำหนดกระบวนการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่ให้เหมาะสม ก่อนวางตลาดสินค้าหรือเปิดตัวธุรกิจในตลาด เช่น การทำ Pre-Order หนังสือประเภทต่าง ๆ ของสำนักพิมพ์จำนวนมากในสื่อสังคม Online ในปัจจุบันนี้
  5. Explainer Video MVPเป็นการทำ MVP ด้วยการจัดทำเป็น Clip Video ที่จะอธิบายแนวความคิด (Concept) คุณสมบัติ วิธีใช้งาน และประโยชน์ที่ผู้ใช้หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับจากสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเรา เช่น Drew Houston ได้เริ่มต้นธุรกิจจากการจัดทำ Clip Video อธิบายถึงวิธีแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ที่มีความต้องการ Sync. File งานระหว่าง Computer แต่ละเครื่องให้ได้อย่างราบรื่น และเผยแพร่ใน Website ที่เป็นชุมชนผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายของเขา จากนั้นไม่นาน จึงมี Dropbox ที่ได้กลายมาเป็นธุรกิจมูลค่ากว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

องค์ประกอบ ต้องมีในการพัฒนา MVP

จากรายละเอียดของ MVP แต่ละประเภทในข้างต้น เราจะพบว่าในการพัฒนา MVP เพื่อทดสอบ Idea ทางธุรกิจให้กับสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเรา จะมีองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการพัฒนา MVP คือ

  1. มีเป้าหมายของ MVP ที่ชัดเจน โดยจะต้องให้ความสำคัญกับจุดขายของสินค้าหรือธุรกิจเกี่ยวกับความสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ชัดเจน เช่น เมื่อต้องการพัฒนาApplicationระบบรับชำระเงิน Online เราควรให้ความสำคัญกับการทำให้ระบบรับชำระเงิน Online ของเราเป็นเรื่องง่าย สะดวก และปลอดภัยสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
  2. กลุ่มเป้าหมายของการทดสอบ Idea ด้วยMVPต้องชัดเจน เพื่อให้เราสามารถพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้มากที่สุด
  3. เลือกประเภท MVP ที่เหมาะสมกับเป้าหมายของการทำ MVP และกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเรา เช่น การใช้ Landing Page MVP ของ Agoda เพื่อทดสอบความสนใจของตลาดในการจองโรงแรมหรือที่พัก Online ก่อนที่จะพัฒนาระบบรับจองโรงแรมและที่พักอย่างเต็มรูปแบบในภายหลัง
  4. การพัฒนา MVP ต้องไม่ลืมคำว่า เรียบง่ายที่สุดแล้วจึงเปิดตัวหรือเผยแพร่สู่ลูกค้าหรือผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สู่การวิเคราะห์และประเมินผล MVP ต่อไป
  5. การวิเคราะห์และประเมินผล MVP เพื่อเลือกที่จะหยุด หรือไปต่อ และไปต่อในแนวทางใด ที่จะตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้า ซึ่งเราสามารถประเมินผล MVP ได้จากดัชนี (Indicators)ต่าง ๆ เช่น

– จำนวนผู้ใช้งาน ซึ่งรวมถึงผู้แสดงความสนใจผ่านการลงทะเบียนรับข้อมูลเพิ่มเติม และ Pre-Order

– ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

– อัตราการเปลี่ยนแปลงจากผู้สนใจ เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเรา

– รายได้ จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่าน MVP ของเรา

ความท้าทาย และข้อผิดพลาดที่จะ พบจากการทำ MVP

ถึงแม้ว่า MVP จะเป็นแนวคิดของการทดสอบ Idea ธุรกิจที่ดี สามารถลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสให้เราสามารถทดลอง ทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดและธุรกิจแก่สินค้าหรือธุรกิจใหม่ได้มาก จนกระทั่ง ค้นพบสินค้าหรือธุรกิจที่ใช่ ตอบโจทย์ทางการตลาดได้ในที่สุด แต่เรามักพบความท้าทาย และข้อผิดพลาดในการทำ MVP ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์พัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเราได้ คือ

– เป้าหมายของการทำ MVP ไม่ชัดเจน จีงอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนตั้งแต่กระบวนการพัฒนา MVP ถึงการวิเคราะห์และประเมินผลในที่สุด

– การพัฒนา MVP ให้ซับซ้อนเกินไป หรือละเลยคำว่า เรียบง่ายที่สุดโดยพยายามที่จะเพิ่มเติมหรือบรรจุคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้าหรือธุรกิจใหม่ลงไปใน MVP มากเกินจำเป็น

– การละเลยข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่ข้อมูลดังกล่าว มีความสำคัญต่อการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่ของเรามากที่สุด

– การยึดติดกับ MVP มากเกินไป ทั้งที่ MVP เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจของเราเท่านั้น และควรที่จะมีความพร้อม ความยืดหยุ่น ในการปรับหรือเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย รูปแบบ และคุณสมบัติของสินค้าหรือธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ เช่น LINE MAN Wongnai ที่ยังคงให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะของลูกค้า เพื่อการปรับปรุง Application และการบริการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

 

MVP เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยืนยันจากความสำเร็จของธุรกิจจำนวนมากในวันนี้ ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ อย่างเรียบง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านเงินทุน บุคลากร หรือเวลาจำนวนมาก เพียงแค่เราสามารถถ่ายทอดเป้าหมายในการตอบสนองความต้องการหนึ่ง ๆ ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้ผ่าน MVP และให้ความสำคัญกับข้อมูล ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นของผู้ใช้หรือลูกค้า เพื่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ MVP ของเรา ให้เป็นสินค้าหรือธุรกิจใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจในอนาคตต่อไป

โดยกฎสำคัญที่เราต้องไม่ลืม ของ MVP คือ เรียบง่ายที่สุด

ทดสอบ Idea ธุรกิจแบบเข้าใจง่าย ด้วย MVP (Minimum Viable Product)

   San Francisco ในสหรัฐอเมริกา คือ เมืองที่ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบและนวัตกรรมระดับโลก จึงมีการรวมตัวของนักออกแบบและนวัตกร (Innovator) เป็นเทศกาล Design Conference ในเมืองนี้อยู่บ่อยครั้ง และได้สร้างปัญหาด้านที่พักแก่ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก จน Brian Chesky และ Joe Gebbia เห็นโอกาสทางธุรกิจ จึงออกแบบ Website ง่าย ๆ ด้วยการเอารูปถ่าย Apartment ของตนเองมาเสนอให้ผู้มาประชุมเช่าพักพร้อมอาหารเช้า ซึ่งผลตอบรับ คือ มีผู้สนใจเช่าที่พักของพวกเขา … นี่คือ จุดเริ่มต้นของ Airbnb ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในวันนี้!

จุดกำเนิดของ Airbnb คือ รูปแบบหนึ่งของการทดสอบ Idea ธุรกิจ ที่เราเรียกว่า MVP หรือ Minimum Viable Product

   MVP เป็นทั้งแนวคิดและกลยุทธ์หนึ่งของการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจ ด้วยรูปแบบการทดสอบ Idea หรือแนวคิดใหม่ ๆ ทางธุรกิจแก่ตลาด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนและทุ่มเทเวลากับการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เพียงเพื่อได้คำตอบสุดท้ายว่า “ไม่ตอบโจทย์”

MVP (Minimum Viable Product) คือ?

   เราสามารถที่จะนิยามความหมายของ MVP ให้เป็นที่เข้าใจง่ายที่สุด คือ สินค้าหรือธุรกิจใน Version ที่เรียบง่ายที่สุด แต่มีระบบหรือ Function หลักต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงนำออกมาให้พวกเขาทดลองใช้ เพื่อทดสอบการใช้งานจริง เช่น แทนที่จะทุ่มเงินทุนและเวลา เพื่อพัฒนา Application สั่งอาหารให้เสร็จสมบูรณ์ในครั้งเดียว เราอาจเริ่มต้นด้วยการสร้าง Website ที่เรียบง่าย และใช้เพียงแบบฟอร์มสั่งอาหาร ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้ทดลองใช้ เพื่อทดสอบความสนใจของพวกเขา และประเมินประสิทธิภาพของระบบการสั่งอาหารที่เราออกแบบ ถึงความคุ้มค่าด้านการลงทุนจากระดับความสนใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ข้อบกพร่องที่ควรได้รับการปรับปรุง และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เช่นเดียวกับการเริ่มต้นของ Airbnb

ทดสอบ Idea ด้วย MVP

   เมื่อต้องการตัวช่วยในการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจให้ตอบโจทย์ทางการตลาด โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเททรัพยากรขององค์กรในห้วงเวลาแห่งความผันผวน เปราะบาง จากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในทุก ๆ วัน ด้วย MVP จะประกอบด้วยแนวคิด (Concept) ที่เราควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น คือ

  1. ให้ความสำคัญกับจุดขาย (Selling Point) ที่สินค้าหรือธุรกิจ จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น ร้านเสื้อผ้า Online ควรเริ่มต้นด้วยการนำเสนอ (Post) รูปแบบเสื้อผ้า เนื้อผ้า การออกแบบ และการตัดเย็บของร้านในสื่อสังคม Online เช่น Facebook หรือ Instagram โดยการรับคำสั่งซื้อ (Order) ผ่านDirect Messageที่สะดวกทั้งกับเราและลูกค้า เป็นต้น
  2. มีช่องทางอธิบายวิธีทำงานของสินค้าหรือธุรกิจให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ง่าย เช่น อธิบายวิธีสั่งซื้อสินค้าแก่ลูกค้าของร้านเสื้อผ้า Online ภายหลังจากการเลือกสินค้าที่ถูกใจผ่านสื่อสังคม Online ของร้านได้แล้ว ให้ส่งข้อความมาสั่งซื้อ และทางร้านจะจัดส่งสินค้าให้ทางไปรษณีย์ เป็นต้น
  3. อธิบายถึงข้อจำกัดการบริการของสินค้าหรือธุรกิจที่กำลังทดสอบ MVP อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เข้าใจถึงขอบเขตของการทดสอบครั้งนั้น ๆ เช่น ระบุช่องทางการรับชำระเงินค่าสินค้าของร้านเสื้อผ้า Online ผ่านระบบการโอนเงินเท่านั้น หรือรับคำสั่งซื้อสินค้าเฉพาะลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น เป็นต้น
  4. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ทดสอบMVP แก่สินค้าหรือธุรกิจของเราให้ถูกต้อง และชัดเจน เช่นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านเสื้อผ้า Online คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อสังคม Online ในชีวิตประจำวัน ชอบการแต่งตัวตาม Trend ใหม่ ๆ ที่เป็นแนวคิด (Concept) ของร้าน เป็นต้น
  5. กำหนดดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสินค้าหรือธุรกิจที่ทดสอบMVPเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินความสำเร็จ (หรือล้มเหลว) ที่เราและผู้เกี่ยวข้องรู้และเข้าใจร่วมกัน เช่น จำนวนผู้ชมสินค้าในสื่อสังคม Online ของร้านเสื้อผ้า Online ร่วมกับยอดสั่งซื้อ (Order) และความคิดเห็น (Feedback) เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและร้านเสื้อผ้าต่อไป เป็นต้น … โดยหลักการสำคัญของตัดสินใจทางการตลาดและธุรกิจในยุค VUCA คือ ความกล้าที่จะยกเลิกหรือล้มเลิก Idea ธุรกิจที่ให้ผลทดสอบ MVP ไม่ดี

   จากข้างต้น จะพบว่าการใช้ MVP เป็นเครื่องมือทดสอบสินค้าหรือธุรกิจใหม่ จะไม่เน้นการทุ่มเททรัพยากรด้านเงินทุน บุคลากร เทคโนโลยี และเวลาอย่างเต็มที่ เต็มรูปแบบ แต่มุ่งเน้นการเข้าถึงการทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจและการตลาดของสินค้าหรือธุรกิจที่ทดสอบด้วย MVP เป็นหลัก ภายใต้คำว่า เรียบง่ายที่สุด

   การใช้ MVP จะช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสให้เราสามารถทดลอง ทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดและธุรกิจแก่สินค้าหรือธุรกิจใหม่ได้มาก จนกระทั่ง ค้นพบสินค้าหรือธุรกิจที่ใช่ ตอบโจทย์ทางการตลาด แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญกับความสำเร็จทางธุรกิจที่ชาญฉลาดและเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น Dropbox ผู้ให้บริการจัดเก็บ File บน Claude หรือ Airbnb ที่ Fast Min MBA ได้ยกมาเป็นตัวอย่างในบทความนี้ และอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากในโลกธุรกิจวันนี้ ที่เกิดและเติบโตมาด้วย MVP หรือ Minimum Viable Product

การสื่อสารแบบ Hybrid เคล็ด (ไม่) ลับ ความสำเร็จขององค์กรยุค Digital

คุณเคยรู้สึกไหม? ว่าการสื่อสารในองค์กรในยุค Work from Home ไม่ราบรื่นเหมือนเดิม … และนี่คือความลับขององค์กรที่เปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จผ่านการสื่อสารแบบ Hybrid!”

   ภายหลังยุค Lockdown จากวิกฤติการณ์ Covid-19 ระบาดทั่วโลก ได้ก่อเกิดรูปแบบการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ หรือ New Normal ในหลาย ๆ มิติ โดยหนึ่งในนั้น คือ การสื่อสารระยะไกลในทุก ๆ ด้านของชีวิตผู้คนในสังคม ที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด คือ การทำงานระยะไกลจากสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากบ้าน หรือการ Work from Home

   Work from Home ได้ก่อให้เกิดอุปสรรคการดำเนินงานแก่องค์กรจำนวนมากในระยะเวลาหนึ่ง จากปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication) ที่ขาดประสิทธิภาพ โดยปัญหาดังกล่าว คือ หนึ่งในเหตุผลสำคัญของความล้มเหลวในหลายองค์กรธุรกิจ ที่ต้องถอนตัวจากตลาดและอุตสาหกรรมในระหว่างและหลังการระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา

   โดยองค์กรธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับการทำงานที่เป็น New Normal ได้ มีเคล็ด (ไม่) ลับที่สำคัญ คือ การผสมผสานรูปแบบการสื่อสารระหว่างสำนักงาน (Office) และบ้าน (Home) ของบุคลากรได้อย่างลงตัว หรือที่เราสามารถนิยามได้ว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid ที่เป็น Key Success Factor ที่สำคัญขององค์กรในวันนี้ เพราะจากการศึกษาของ McKinsey พบว่าองค์กรที่ใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ Hybrid สามารถสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากรเพิ่มขึ้นถึง 30% และประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 25%

  1. เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมคือ การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสาร และ Platformการสื่อสารภายในองค์กรที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรให้เกิดการประสานการดำเนินงานร่วมกันอย่างราบรื่น ทั้งการเลือกใช้ Software จัดการประชุม Online เช่น Microsoft Teams, Zoom หรือ Google Meet รวมถึง การเลือก Software จัดการโครงการ (Project Management) เช่น Asana, Trello หรือ Slack เป็นต้น ยกตัวอย่างการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ การใช้ Microsoft Teams เพื่อจัดการประชุม Online แลกเปลี่ยนข้อมูล (Share Files) ระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการใช้ Asana ในการติดตามสถานะการดำเนินงานแต่ละโครงการขององค์กร เป็นต้น โดยความเหมาะสมของการเลือกเทคโนโลยีดังกล่าว มีปัจจัยที่เราต้องพิจารณา เช่น การใช้งานที่บุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยมีต้นทุนและความปลอดภัยที่เหมาะสมแก่การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในขององค์กร
  2. จัดการประชุม เชิงประสิทธิภาพคือ การกำหนดและวางแผนการจัดการประชุมในวาระและระดับต่าง ๆ ขององค์กร ที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าร่วมและมีส่วนร่วมกับการประชุมนั้น ๆ ได้ ตั้งแต่การกำหนดเวลาจัดการประชุมที่บุคลากรทุกคนรู้สึกที่สะดวกที่จะเข้าร่วมประชุมได้ทุกคน มีการกำหนดวาระการประชุมที่ชัดเจน และมีการจัดทำบันทึกการประชุม ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตาม เข้าถึง และศึกษาภายหลังได้สะดวก
  3. ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กรโดยองค์กรควรสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใสขึ้นในองค์กร ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากระดับบริหารที่ควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคน และทุกระดับ ในทุกโอกาส ที่มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้บุคลากรเกิดการรับรู้ถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่จะส่งผลต่อความ กล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สู่ระดับบริหารขององค์กร โดยเทคนิคส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid คือ การสร้างช่องทางสื่อสาร เช่น Chat room หรือ Web board ทั้งในระดับส่วนงาน ถึงระดับองค์กร ที่ทุกคนสามารถนำเสนอแนวคิด คำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรได้โดยไม่มีข้อวิตกกังวล เป็นต้น
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรนับเป็นเคล็ด (ไม่) ลับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กร โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่นอกเหนือจากการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นในทุกวาระและโอกาสที่เหมาะสมแล้ว ยังควรจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ภายในส่วนงาน และการWorkshop ระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กร รวมถึง การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรมีส่วนร่วม
  5. ติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ เคล็ด (ไม่) ลับของการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid ต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอและต่อเนื่อง เช่น การจัดทำแบบประเมิน Online เป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส ที่กระชับ สะดวกกับการให้ความร่วมมือของบุคลากร เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในทุก ๆ มิติ ขององค์กร และค้นหากลยุทธ์พัฒนาบุคลากร สร้างขวัญกำลังใจ ที่ส่งผลเชิงบวกต่อการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพในที่สุดแก่องค์กร

   ในท้ายที่สุด ของการสื่อสารแบบ Hybrid ที่จะเป็นกุญแจหรือ Key Success Factor ที่สำคัญขององค์กรในวันนี้ คือ การเปิดโอกาสรับวัฒนธรรมการทำงานและการสื่อสารใหม่ในยุค Digital ของผู้นำหรือผู้บริหาร เพื่อปรับใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและอื่น ๆ ขององค์กรให้เพิ่มขึ้น รวมถึง การเปิดใจที่พร้อมจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากร ซึ่งแม้จะเป็น ยาขม แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่องค์กรของคุณจะก้าวเข้าสู่ยุค Hybrid Communication เพื่อสร้างความยั่งยืนและความสำเร็จในยุค Digital

คุณพร้อมหรือยังที่จะเริ่มต้น?”

Coke และ AI กับกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ตลาด

   ในยุค Digital ที่การแข่งขันทางธุรกิจและการตลาดที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ทันทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และนำหน้าเหนือกว่าคู่แข่งขันในตลาดให้ได้อยู่เสมอ การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มาเป็นเครื่องมือในกระบวนการพัฒนาสินค้า และสร้าง Brand ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าและตลาด ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสู่ที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจระดับโลกอย่าง Coca-Cola หรือ Coke ยังคงเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่ม Cola ด้วยความสามารถตอบสนองความต้องการและโจทย์ทางการตลาดของลูกค้าที่แม่นยำ

Fast Mini MBA จึงจะชวนทุกท่านมาศึกษาว่า Coke ใช้ AI เพื่อขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมด้านสินค้า และสร้าง Brand ของพวกเขา ให้ได้ผลลัพธ์ดังกล่าวได้อย่างไร?

การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า

   Coke ใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มีที่มาจากหลากหลายช่องทาง ทั้งบน Social Media, Website และแหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดมหาศาล ให้ Coke เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในระดับที่ลึกซึ้งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การความสนใจของลูกค้าใน Social Media จนช่วยให้ Coke สามารถระบุแนวโน้ม (Trend) ใหม่ ๆ ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทันเวลาในแต่ละพื้นที่หรือตลาด ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาสินค้ารสชาติใหม่ ๆ ตามความคิดเห็น คำค้นหา และ Hashtag จนเกิดเป็น Coke Freestyle ซึ่งเป็นเครื่องกดน้ำอัจฉริยะที่ลูกค้าสามารถเลือกและผสมรสชาติเครื่องดื่ม Coke ได้มากกว่า 100 รสชาติด้วยตัวเอง หรือ Cherry Sprite ซึ่งเป็นเครื่องดื่ม Sprite ที่มีรสชาติ Cherry เป็นต้น

การพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ตลาดด้วย Machine Learning

   นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น AI ยังสนับสนุนการดำเนินงานของ Coke ในกระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ผ่าน Machine Learning ซึ่ง Coke ใช้เพื่อประเมินความเป็นไปได้ทางการตลาดของรสชาติใหม่ ๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจลูกค้า โดยการให้ AI จำลองการตอบสนองของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต่อรสชาติหรือบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ Coke พัฒนาขึ้นมา เพื่อประเมินศักยภาพและความเป็นไปได้ทางการตลาดในการตอบโจทย์ความพอใจของลูกค้า ก่อนที่จะเปิดตัวสินค้าใหม่ในแต่ละครั้ง ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงและประหยัดต้นทุนการพัฒนาสินค้าใหม่ของ Coke ไม่ให้ต้องลองผิดลองถูกเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

AI กับการสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้า (Customer Experience)

   Coke ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือศักยภาพของ AI กับการพัฒนาสินค้า หรือสร้าง Brand เท่านั้น แต่ยังนำ AI มาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อ Coke เช่น เครื่องกดน้ำอัจฉริยะของ Coke Freestyle ที่ AI จะเรียนรู้และจดจำรสชาติที่ลูกค้าชอบ พร้อมกับความสามารถปรับเปลี่ยนและแนะนำรสชาติใหม่ที่คาดว่าลูกค้าจะชอบและเลือกได้อีกด้วย

   นอกจากนี้ Coke ยังได้นำ AI มาร่วมออกแบบ Campaign การตลาด เพื่อการปรับแต่งภาษา ข้อความ และรูปแบบการโฆษณาให้เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้ากับ Coke ได้อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

 ผลลัพธ์จากการนำ AI มาใช้

   ผลลัพธ์ที่ Coke ได้รับจากการนำ AI มาประยุกต์ในการดำเนินงานพัฒนาสินค้าใหม่ และการสร้าง Brand สามารถสรุปได้ คือ

– ทำให้ Coke เข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาดได้ดียิ่งขึ้น

– ทำให้ Coke สามารถพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันกระแส

– ทำให้ Coke มีแนวทางและเครื่องมือสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจและจดจำแก่ลูกค้า

– ทำให้ Coke สามารถลดต้นทุนในกระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูล จนถึงการพัฒนาสินค้า และการออกแบบ Campaign หรือแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

   กรณีศึกษาของ Coke คงแสดงให้เห็นว่า AI ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยี หรือเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงาน แต่ได้ยกระดับความสำคัญให้เป็นพันธมิตรสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและการแข่งขันทางการตลาดในยุค Digital โดยองค์กรธุรกิจที่สามารถนำ AI มาปรับใช้ในกระบวนการการดำเนินงาน ที่เป็น Key Activities ของธุรกิจได้ ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จทางการตลาด และสร้าง Brand ให้แข็งแกร่งขึ้น จากศักยภาพการตอบโจทย์ให้กับตลาดที่แม่นยำและทันต่อกระแสความต้องการของลูกค้า

   ถึงวันนี้ คุณคิดว่า AI จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณในแง่มุมใดได้บ้าง? … ลองคิด วิเคราะห์ และออกแบบแผนการนำ AI มาประยุกต์ในธุรกิจ จากตัวอย่างของ Coke หรือเข้าร่วมเรียนรู้ กับชุดวิชา Modern Management in VUCA World with AI และอื่น ๆ ใน Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA รุ่นที่ 8 เพื่อพลิกโฉมธุรกิจของคุณเอง!

การสื่อสารแบบ Hybrid เคล็ด (ไม่) ลับ ความสำเร็จขององค์กรยุค Digital

คุณเคยรู้สึกไหม? ว่าการสื่อสารในองค์กรในยุค Work from Home ไม่ราบรื่นเหมือนเดิม … และนี่คือความลับขององค์กรที่เปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จผ่านการสื่อสารแบบ Hybrid!”

   ภายหลังยุค Lockdown จากวิกฤติการณ์ Covid-19 ระบาดทั่วโลก ได้ก่อเกิดรูปแบบการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ หรือ New Normal ในหลาย ๆ มิติ โดยหนึ่งในนั้น คือ การสื่อสารระยะไกลในทุก ๆ ด้านของชีวิตผู้คนในสังคม ที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด คือ การทำงานระยะไกลจากสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากบ้าน หรือการ Work from Home

   Work from Home ได้ก่อให้เกิดอุปสรรคการดำเนินงานแก่องค์กรจำนวนมากในระยะเวลาหนึ่ง จากปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication) ที่ขาดประสิทธิภาพ โดยปัญหาดังกล่าว คือ หนึ่งในเหตุผลสำคัญของความล้มเหลวในหลายองค์กรธุรกิจ ที่ต้องถอนตัวจากตลาดและอุตสาหกรรมในระหว่างและหลังการระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา

   โดยองค์กรธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับการทำงานที่เป็น New Normal ได้ มีเคล็ด (ไม่) ลับที่สำคัญ คือ การผสมผสานรูปแบบการสื่อสารระหว่างสำนักงาน (Office) และบ้าน (Home) ของบุคลากรได้อย่างลงตัว หรือที่เราสามารถนิยามได้ว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid ที่เป็น Key Success Factor ที่สำคัญขององค์กรในวันนี้ เพราะจากการศึกษาของ McKinsey พบว่าองค์กรที่ใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ Hybrid สามารถสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากรเพิ่มขึ้นถึง 30% และประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 25%

  1. เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมคือ การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสาร และ Platformการสื่อสารภายในองค์กรที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรให้เกิดการประสานการดำเนินงานร่วมกันอย่างราบรื่น ทั้งการเลือกใช้ Software จัดการประชุม Online เช่น Microsoft Teams, Zoom หรือ Google Meet รวมถึง การเลือก Software จัดการโครงการ (Project Management) เช่น Asana, Trello หรือ Slack เป็นต้น ยกตัวอย่างการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ การใช้ Microsoft Teams เพื่อจัดการประชุม Online แลกเปลี่ยนข้อมูล (Share Files) ระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการใช้ Asana ในการติดตามสถานะการดำเนินงานแต่ละโครงการขององค์กร เป็นต้น โดยความเหมาะสมของการเลือกเทคโนโลยีดังกล่าว มีปัจจัยที่เราต้องพิจารณา เช่น การใช้งานที่บุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยมีต้นทุนและความปลอดภัยที่เหมาะสมแก่การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในขององค์กร
  2. จัดการประชุม เชิงประสิทธิภาพคือ การกำหนดและวางแผนการจัดการประชุมในวาระและระดับต่าง ๆ ขององค์กร ที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าร่วมและมีส่วนร่วมกับการประชุมนั้น ๆ ได้ ตั้งแต่การกำหนดเวลาจัดการประชุมที่บุคลากรทุกคนรู้สึกที่สะดวกที่จะเข้าร่วมประชุมได้ทุกคน มีการกำหนดวาระการประชุมที่ชัดเจน และมีการจัดทำบันทึกการประชุม ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตาม เข้าถึง และศึกษาภายหลังได้สะดวก
  3. ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กรโดยองค์กรควรสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใสขึ้นในองค์กร ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากระดับบริหารที่ควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคน และทุกระดับ ในทุกโอกาส ที่มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้บุคลากรเกิดการรับรู้ถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่จะส่งผลต่อความ กล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สู่ระดับบริหารขององค์กร โดยเทคนิคส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid คือ การสร้างช่องทางสื่อสาร เช่น Chat room หรือ Web board ทั้งในระดับส่วนงาน ถึงระดับองค์กร ที่ทุกคนสามารถนำเสนอแนวคิด คำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรได้โดยไม่มีข้อวิตกกังวล เป็นต้น
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรนับเป็นเคล็ด (ไม่) ลับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารภายในองค์กร โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่นอกเหนือจากการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นในทุกวาระและโอกาสที่เหมาะสมแล้ว ยังควรจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ภายในส่วนงาน และการWorkshop ระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กร รวมถึง การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมที่องค์กรมีส่วนร่วม
  5. ติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ เคล็ด (ไม่) ลับของการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร แบบ Hybrid ต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอและต่อเนื่อง เช่น การจัดทำแบบประเมิน Online เป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส ที่กระชับ สะดวกกับการให้ความร่วมมือของบุคลากร เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในทุก ๆ มิติ ขององค์กร และค้นหากลยุทธ์พัฒนาบุคลากร สร้างขวัญกำลังใจ ที่ส่งผลเชิงบวกต่อการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพในที่สุดแก่องค์กร

   ในท้ายที่สุด ของการสื่อสารแบบ Hybrid ที่จะเป็นกุญแจหรือ Key Success Factor ที่สำคัญขององค์กรในวันนี้ คือ การเปิดโอกาสรับวัฒนธรรมการทำงานและการสื่อสารใหม่ในยุค Digital ของผู้นำหรือผู้บริหาร เพื่อปรับใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและอื่น ๆ ขององค์กรให้เพิ่มขึ้น รวมถึง การเปิดใจที่พร้อมจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากร ซึ่งแม้จะเป็น ยาขม แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่องค์กรของคุณจะก้าวเข้าสู่ยุค Hybrid Communication เพื่อสร้างความยั่งยืนและความสำเร็จในยุค Digital

คุณพร้อมหรือยังที่จะเริ่มต้น?”

Mini MBA กับการเพิ่มศักยภาพให้ SMEs ไทย

Mini MBA กับการเพิ่มศักยภาพให้ SMEs ไทย

   ดังที่โลกธุรกิจในทุก ๆ ระดับ และทุกภูมิภาคทั่วโลกต่างรับรู้ร่วมกัน ถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จในยุค VUCA คือ ความท้าทาย จากความยากที่จะคาดเดาหรือพยากรณ์ความผันผวนที่จะเกิดขึ้น ทั้งความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้ารุ่นใหม่ ๆ ในตลาด และการเข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงของเทคโนโลยีในทุกมิติของสังคม ที่ล้วนส่งผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs อย่างยิ่ง เช่น

ต้องการการปรับตัวที่รวดเร็ว (Agility) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการดำเนินงานขององค์กร

ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (Data Driven Decision Making) ที่ต้องสามารถรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทุกการตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำมากขึ้น

ต้องการการเรียนรู้และลงทุนด้านเทคโนโลยี เช่น การใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ในองค์กร เพื่อเชื่อมโยงระบบการทำงานภายในองค์กรบนฐานข้อมูลเดียวกัน และมีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) รวมถึง การประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินขององค์กร เป็นต้น

   ความต้องการต่าง ๆ ข้างต้น จำเป็นต้องอาศัย ความรู้ (Knowledge)” เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความเข้าใจให้สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือการบริหาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้องค์กรสามารถก้าวข้ามความท้าทายทางธุรกิจ ซึ่งหลักสูตร Mini MBA หลากหลายหลักสูตรในตลาดฝึกอบรม ที่ออกแบบและดำเนินการโดยสถาบันการศึกษาหรือธุรกิจการศึกษาจำนวนมาก เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหารธุรกิจ SMEs ในการเข้าร่วมศึกษา เรียนรู้ และประยุกต์ความรู้ที่ได้รับ เพื่อปรับปรุง พัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจของตน

Mini MBA คืออะไร และทำไมถึงสำคัญ?

   Mini MBA ไม่ได้หมายถึง หลักสูตรย่อยที่รองรับหลักสูตร MBA หรือหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration) หากแต่เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นที่ใช้โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร MBA เป็นโครงสร้างเนื้อหาการฝึกอบรม ที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ และทักษะในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ครอบคลุมความรู้ด้านการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ทั้งการตลาด การเงิน การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการพัฒนาทักษะผู้นำ เป็นต้น โดยมีการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการหรือผู้บริหารที่มีเวลาจำกัด แต่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับธุรกิจได้ทันที เช่น

– สามารถเข้าใจหลักการตลาด (Marketing) ให้รู้จักและเข้าใจการตลาด ลูกค้า และกลยุทธ์การเข้าถึงพวกเขา และการสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จักผ่านเครื่องมือการตลาด Digital ต่าง ๆ เช่น Social Media, SEO และ Content Marketing รวมตลอดถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งในระบบ e-Commerce และ e-Marketing เป็นต้น

– สามารถออกแบบและบริหารกลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Management) ภายใต้หลักการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจต่าง ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานแต่ละระยะและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

– มีความรู้ในหลักการบริหารการเงิน (Financial Management) โดยที่ (อย่างน้อย) ให้สามารถทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดทำงบประมาณและการควบคุมต้นทุน รวมถึง การประยุกต์เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง เป็นต้น

– มีความเข้าใจและแนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์กร (Human Resource Development) ด้วยแนวคิดและกลยุทธ์สร้างแรงจูงใจที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรเกิดทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงาน สามารถสร้าง Teams ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและยั่งยืนแก่องค์กร

   จากข้างต้น คือ ตัวอย่างของความรู้ที่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารธุรกิจ SMEs จะได้รับจากหลักสูตรฝึกอบรม Mini MBA หากแต่ประโยชน์ที่นอกเหนือจากชุดความรู้ด้านการบริหารธุรกิจแล้ว คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าอบรม (Connection) ที่หลักสูตร Mini MBA จะเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างและพัฒนาเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความช่วยเหลือระหว่างกัน ที่จะนำไปสู่โอกาสสร้างความร่วมมือและการขยายธุรกิจทั้งในด้านการตลาด การลงทุน หรือแม้แต่การพัฒนาธุรกิจ และนวัตกรรมร่วมกันต่อไป

Mini MBA ฉบับ Fast Mini MBA

   Mini MBA หลักสูตรต่าง ๆ ของ Fast Mini MBA คือ หลักสูตรที่พัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์เชี่ยวชาญตลาดภูมิภาคเอเชีย คณะบริหารธุรกิจ (AMEC) และ Digital Business Consult (DBC) โดยมีหลักสูตร Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA เป็นหลักสูตรเรือธง ที่เปิดอบรมต่อเนื่องถึงรุ่น 7 ด้วยโครงสร้างเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกมิติการบริหารธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหารที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจอย่างรวบรัด รวดเร็ว สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้แข็งแกร่ง ทนแรงเสียดทานจากความผันผวนต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคงและพร้อมเติบโตได้ต่อไป

   นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร Mini MBA อื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ด้านการบริหารและจัดการธุรกิจเฉพาะด้านแก่ผู้ประกอบการและผู้บริหารธุรกิจ SMEs เช่น การพัฒนากลยุทธ์การตลาด หรือเพื่อการบริหารธุรกิจบริการ และหลักสูตรการตลาดสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการตลาด คือ Fast Mini MBA in Marketing for Non Marketer ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดการตลาดไปปรับใช้ เพื่อการพัฒนาและยกระดับองค์กรให้ทันการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ

   การนำความรู้จากหลักสูตร Mini MBA มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ SMEs ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและการตลาดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจในยุค Digital อีกด้วย ซึ่งหากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ที่ต้องการแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างรวบรัด รวดเร็ว เพื่อปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจของตน … การเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่และประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตร Mini MBA อาจเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่ความสำเร็จในอนาคต

3Y Framework กับการพัฒนาองค์กรในยุค VUCA

คุณเคยสงสัยหรือไม่? กับโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและซับซ้อนมากขึ้นเช่นปัจจุบัน หรือ

ผู้นำองค์กร ควรมีกรอบความคิดแบบใด? เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเร็วขึ้นทุก ๆ วัน และ

ทักษะอะไร? ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์กรให้พร้อมก้าวไปสู่อนาคตยุค VUCA

   เพราะในโลกที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง และมีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าทวี จนยากที่แผนงานตามวิสัยทัศน์ที่พัฒนาขึ้นอย่างพิถีพิถันเมื่อวันวาน จะพาองค์กรธุรกิจให้ก้าวข้ามยุค VUCA ไปได้ง่าย ๆ เช่นในยุค Analog หรือยุครอยต่อสู่ Digital ที่ผ่านมา เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและนักบริหารภาคธุรกิจจำนวนมาก ที่เชื่อว่าทักษะหรือความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งจะไม่เพียงพอสำหรับยุคปัจจุบันนี้อีกต่อไป

   3Y Framework เป็นแนวคิดหนึ่งที่ Fast Mini MBA เชื่อว่าจะเป็นเครื่องมือสำหรับผู้นำองค์กรธุรกิจ ให้มีแนวทางพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับมือกับความท้าทายที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิผล และยังสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวสู่อนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะ 3Y Framework จะมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะแก่องค์กรใน 3 มิติ คือ Y-Shape Thinking, Start with Why และ Think Widely

Y-Shape Thinking

   คือ การขยายปริมณฑลความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กร ให้มีทั้งความลึกในสาขาเฉพาะ (Tall) และความรู้รอบตัวอย่างหลากหลายในทุก ๆ สาขา (Arms) โดยเฉพาะด้านเทคนิค การสื่อสาร และการคิดวิเคราะห์ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันในเขิงบูรณาการความรู้ เช่น Google สนับสนุนการพัฒนาทักษะที่หลากหลายผ่าน Google’s 20% Project ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรของ Google ใช้เวลา 20% ของเวลาทำงาน ไปกับการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดย Gmail ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นสุดยอด e-Mail Client คือ หนึ่งในบริการที่ Google ได้รับจาก Google’s 20% Project

นอกจากนี้แล้ว Y-Shape Thinking ที่สามารถเชื่อมโยงหรือบูรณาการความรู้ทางลึก และทักษะที่หลากหลายให้เกิดขึ้นภายในองค์กรได้แล้ว จะสนับสนุนให้การตัดสินใจ การเลือกใช้กลยุทธ์ หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ซับซ้อนทางธุรกิจของผู้นำองค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

Start with Why

   คือ การเริ่มต้นจากคำถาม ทำไม ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำและองค์กรสามารถตัดสินใจ เลือกใช้กลยุทธ์ หรือการดำเนินการใด ๆ ได้บนทิศทางที่เหมาะสม จากความเข้าใจถึงเหตุผล และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ดังนั้น การเริ่มต้นด้วย “ทำไม” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร ให้มีความหมาย มีความชัดเจน และมีแรงกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนไปตามกรอบวิสัยทัศน์โดยบุคลากรทุกคนในองค์กร เช่น Amazon Prime ของ Amazon ที่ได้รับการออกแบบการบริการภายใต้แนวคิด “ทำไม” จึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างชัดเจน

ถึงอย่างไร การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ นับเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับ Start with Why เพื่อให้บุคลากรขององค์กรทุกคนร่วมรับรู้ที่มาหรือเหตุผลของวิสัยทัศน์องค์กร และร่วมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน

Think Widely

   คือ การคิดนอกกรอบ ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุค VUCA ที่ทุกองค์กรต้องค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตนให้พบ ด้วยการเปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถทดลองวิธีการใหม่ ๆ ในการดำเนินงาน ส่งเสริมกระบวนการการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาด และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นขององค์กร เช่น Gmail ของ Google ดังกล่าวข้างต้น หรือความคิดนอกกรอบของ Elon Musk และ Tesla ที่ตอบโจทย์ให้กับตลาดพลังงานสะอาดด้วยรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบันนี้

 

กลยุทธ์ประยุกต์ 3Y Framework ในองค์กร

จากความหมายของ 3Y Framework ในข้างต้น จะพบแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ 3Y Framework ให้องค์กรมีความพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ในโลกธุรกิจยุค VUCA ได้ (โดยสังเขป) ดังนี้

  1. พัฒนาทักษะและความรู้แก่บุคลากร ให้พวกเขามีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งในมิติทางลึกเฉพาะสาขา และความรู้รอบตัวในทางกว้าง
  2. พัฒนาวิสัยทัศน์องค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งแต่ความเข้าใจถึงเหตุและผล ถึงเป้าหมายที่ทุกคนรู้และเข้าใจร่วมกัน ด้วยการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
  3. นำDesign Thinking มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาความตีบตันทางความคิด สู่การสร้างแนวทางพัฒนาความคิดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณค่าแก่องค์กร
  4. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมให้บุคลากรมีโอกาส สามารถ และกล้าที่จะนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ตั้งแต่ความคิดใหม่ แนวทางและโอกาสทดลองทำสิ่งใหม่ ถึงการนำเสนอนวัตกรรม เช่นGoogle’s 20% Projectเป็นต้น

 

   3Y Framework คือ แนวคิดการบริหารองค์กรธุรกิจ สู่การปรับตัวในโลกที่เต็มไปด้วยไม่แน่นอน มีความซับซ้อนที่มากมาย และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ที่ทุกองค์กรธุรกิจในวันนี้ จะอยู่รอดอย่างยั่งยืนได้ด้วย 3 ปัจจัยในข้างต้น คือ การพัฒนาทักษะให้รู้ลึกและรอบด้าน มีความชัดเจนถึงเหตุและผลในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป้าหมายขององค์กร สุดท้าย คือ ความสามารถคิดสร้างสรรค์อย่างนอกกรอบ เพื่อค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

   โดยสามารถค้นหาความหมาย และกลยุทธ์ 3Y Framework ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งของชุดความรู้ การบริหารธุรกิจในยุค VUCA World ในหลักสูตร Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA รุ่นที่ 7 รวมถึง ชุดความรู้อื่น ๆ กว่า 20 วิชา ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ในยุค VUCA ด้วยกรอบความคิดชัดเจนและทันสมัย เพื่อยกระดับองค์กรของคุณสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

VUCA vs BANI กับโลกแห่งความโกลาหล

VUCA vs BANI กับโลกแห่งความโกลาหล

   จากยุคที่นักยุทธศาสตร์ทั่วโลก รู้จักและใช้ VUCA เป็นแนวคิดในการอธิบายถึงความไม่แน่นอนของโลกมาอย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ จนเมื่อโลกต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงบนความไม่แน่นอนที่ยากคาดเดามากขึ้น รุนแรงขึ้น และถี่ขึ้น จึงเป็นที่มาแนวคิดใหม่ที่จะช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของโลกปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าได้มากขึ้น เพื่อการปรับตัวให้อยู่บนโลกแห่งความโกลาหลได้ คือ BANI

BANI คือ อะไร? … และเราจะเตรียมตัวหรือทำตัวอย่างไร? ในวันที่ความโกลาหลของโลกเดินมาเคาะประตูบ้านแล้ว

 

VUCA คือ ?

   VUCA เป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นโดย United States Army War College ในปลายทศวรรษ 1980 จากการนิยามสถานการณ์ของโลกในยุคนั้น ด้วยคำว่า Volatility, Uncertainty, Complexity และ Ambiguity แต่ VUCA เริ่มเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในหลายองค์กรและหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก นับจากปี 2000 เป็นต้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออธิบายถึงปัญหาและอุปสรรคของการจะดำเนินงานใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนส่งผลถึงความสำเร็จของแผนงานนั้น ๆ

   โดยที่ Volatility แทนความหมายของความผันผวน ความไม่เสถียรของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานใด ๆ ในแผนงาน จนอาจจะเป็นสาเหตุสำคัญให้แผนงานนั้นต้องประสบความล้มเหลว และความผันผวนของสภาพแวดล้อมนี้เอง ยังเป็นอีกปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของคำว่า “เร่งด่วน (Urgency)” และ “สำคัญ (Importance)” ได้

ขณะที่ Uncertainty หรือความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องมาจากความผันผวนของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จนยากที่จะทำนายหรือพยากรณ์ผลการดำเนินงานล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

   Complexity หรือความซับซ้อนของข้อมูลที่จำเป็นต่อการศึกษา เพื่อการประเมินหรือพยากรณ์แนวโน้มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน ทั้งในมิติด้านความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละส่วนและปริมาณข้อมูลที่มาก จนยากต่อการประเมินหรือประมวลผลข้อมูล

สำหรับ Ambiguity คือ ความคลุมเครือของข้อมูลที่นำไปสู่การสร้างความสับสนระหว่างเหตุและผล จนอาจจะเป็นที่มาของความไม่เข้าใจในข้อมูลหรือเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

           VUCA แม้จะเป็นที่ยอมรับและใช้อธิบายสถานการณ์โลกอย่างกว้างขวางแพร่หลายมากว่า 2 ทศวรรษ แต่เมื่อโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากปัจจัยแวดล้อมทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี กระทั่ง นักคิด นักยุทธศาสร์ รู้สึกว่า VUCA เริ่มห่างไกลจากความเป็นไปของโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ … จึงเกิดคำถามถึงความเหมาะสมที่จะใช้ VUCA ต่อไปอีกหรือไม่?

           BANI จึงได้กำเนิดขึ้นมาและปรากฎครั้งแรกในบทความเรื่อง Facing the Age of Chaos ของ Jamais Cascio ศาสตราจารย์แห่ง University of California และสมาชิกของ Institute for the Future

credit: Stephan Grabmeier

BANI คือ ?

           ใน Facing the Age of Chaos ได้สะท้อนมุมมองของ Jamais Cascio ถึงสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบันว่าเป็นโลกแห่งความโกลาหล ที่ส่งผลให้เกิดอาการที่น่าวิตกขึ้นในสังคมและองค์กรต่าง ๆ คือ Brittleness, Anxiety, Nonlinearity และ Incomprehensibility หรือที่เรียกว่า แนวคิด BANI

           Brittleness มีความหมายถึงความเปราะบาง โดยได้หยิบยกกรณีการระบาดของ Covid-19 ที่ลุกลามและส่งผลกระทบไปทั่วโลกภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว มาเป็นมูลเหตุวิเคราะห์ความเปราะบางของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างธุรกิจ การตลาด หรือแม้แต่หน้าที่การงาน และอาชีพของบุคคล เพียงเพราะมีวิกฤติการณ์ขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง … ความมั่นคง ความรู้สึกปลอดภัย ไม่มีอีกต่อไปแล้ว

           Anxiety คือ ความวิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นจากการต้องตัดสินใจบนความเปราะบางของผลกระทบในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เพราะการตัดสินใจที่รวดเร็วย่อมมีความเสี่ยง เช่นเดียวกับการเสียเวลาไปกับการตัดสินใจก็อาจจะทำให้เราต้องตกอยู่ในสถานะผู้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง … ความสำเร็จ หรือล้มเหลว จึงอาจจะวัดกันที่การตัดสินใจของเราในช่วงเวลาที่เรารู้สึกอ่อนแอก็เป็นไปได้

           Nonlinearity ความไม่เป็นเหตุเป็นผลเชิงเส้น เช่น ผลสำเร็จที่ได้รับอาจจะไม่คุ้มค่ากับความพยายามที่ทุ่มเทลงไปอย่างมาก หรือการตัดสินใจผิดเพียงเล็กน้อยในเรื่องหนึ่ง ๆ อาจส่งผลร้ายแรงอย่างที่สุดตามมาได้ เมื่อโลกต้องเผชิญกับการสูญเสียความเป็นเหตุเป็นผลเชิงเส้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับถึงผลลัพธ์ที่อยู่เหนือคาดหมาย ไร้ความแน่นอน … กลยุทธ์ หรือแผนการดำเนินงานใด ๆ ที่คิดและจัดทำมาอย่างดีแล้ว จึงต้องสามารถเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปได้เสมอ

           Incomprehensibility หรือความไม่เข้าใจ … แม้ว่าเราสามารถค้นหาคำตอบได้ทุก ๆ สิ่งที่ต้องการ ด้วยความสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เร็ว และมาก กระทั่งในความเร็วและมาก หรือ “ท่วมท้น” ของข้อมูลอาจจะเป็นสาเหตุแห่งความสับสน และที่มาของความไม่เข้าใจขึ้นได้เช่นกัน

 

เตรียมตัวหรือทำตัวอย่างไร?

เมื่อโลกแห่งความโกลาหลมาเคาะประตูบ้านแล้ว

           ในโลกแห่งความโกลาหลเช่นนี้ ยากที่จะหาใครมาทำนายหรือพยากรณ์อนาคตของโลกในอีก 6 เดือนหรือ 1 ปีข้างหน้าเช่นในอดีต ด้วยบริบทนี้ การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวขององค์กรธุรกิจ หรือในการบริหารประเทศ จึงอาจจะเป็นเป็นเรื่องไม่ Make Sence อีกต่อไป เพราะเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปอยู่แล้วว่าไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพื่อการเอาชนะความโกลาหลได้ … แต่ถึงอย่างไร เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความโกลาหลนี้ได้

 

ดังนั้น ……

           เมื่อรู้สึกถึงความเปราะบาง หรือ Brittleness ยิ่งต้องแสดงศักยภาพและความยืดหยุ่นให้โลกเห็นลดความวิตกกังวลจากการตัดสินใจใด ๆ ด้วยความพยายามทำความเข้าใจ และใช้สติให้มาก เอาชนะความไม่เป็นเหตุเป็นผลเชิงเส้น ด้วยความพร้อมและสามารถที่จะปรับตัวอยู่เสมอ และสุดท้าย คือ ปล่อยวาง และใช้สัญชาติญาณ เมื่อรู้สึกสับสนหรือไม่เข้าใจต่อสิ่งที่กำลังเผชิญ

credit: Stephan Grabmeier

 

            แนวคิด BANI อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการคิด การสร้างโอกาสเชิงรุกและพร้อมรับต่อทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในยุคแห่งความโกลาหลของโลกนี้ โดยสามารถประยุกต์หรือปรับใช้กับชีวิตส่วนตัว การบริหารธุรกิจ และการบริหารรัฐกิจ แทนที่ VUCA ที่เคยใช้มายาวนาน

            กับหลักสูตร Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA #8 ที่ช่วยคุณเข้าใจแนวคิด VUCA และ BANI ได้มากยิ่งขึ้น

 

ปรับปรุงจาก : Marian Temmen.(2021).BANI vs VUCA-a new acronym for a new world. https://temmen.medium.com/bani-vs-vuca-a-new-acronym-for-anew-world-59c7be2dddce