5 ทักษะ ของผู้นำประเภท Proactive

5 ทักษะ ของผู้นำประเภท Proactive

   ผู้นำประเภท Proactive Leader คือ ผู้นำองค์กร หรือ Team ที่สามารถปรับตัวและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงของ VUCA ซึ่งต้องการผู้นำที่สามารถคาดการณ์ วางแผน และดำเนินงานเชิงรุก เพื่อชับเคลื่อนองค์กร หรือ Team สู่เป้าหมายได้ และแน่นอนว่าคุณลักษณะดังกล่าว ย่อมแตกต่างจากผู้นำในกลุ่ม Poor Leader ที่จะรอให้ปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงคิดหาหนทางแก้ไข หรือที่เราจะพบได้มากกับผู้นำที่มักมีวลีประจำตัวว่า ให้เวลาแก้ไขปัญหาแทนเรา เพื่อหลีกเลี่ยง และไม่รับผิดชอบต่อปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง

 

Poor Leader vs. Proactive Leader : คุณอยู่ในกลุ่มไหน?

ลักษณะ

Poor Leader

Proactive Leader

วิธีคิด

ตั้งรับปัญหา แก้ไขเมื่อเกิดปัญหา หรือไม่รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

มองการณ์ไกล วางแผน และดำเนินการ และเตรียมพร้อมก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น

การตัดสินใจ

ลังเล ขาดความมั่นใจ

ตัดสินใจรวดเร็ว ด้วยการใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน

การสื่อสาร

ขาดความชัดเจน ไม่กระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

สื่อสารชัดเจน มีพลัง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และ Team อยู่เสมอ

การบริหาร

เน้นสั่งการ ไม่รับฟังความคิดเห็น

เปิดรับความคิดเห็นรอบด้าน และส่งเสริมการทำงานเป็น Team

 

Poor Leader vs. Proactive Leader : สถานการณ์ตัวอย่าง

   เป็นการจำลองสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบวิธีคิด ตัดสินใจ และการบริหารธุรกิจ ระหว่างผู้นำทั้งสองประเภทในธุรกิจที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

Poor Leader

  1. รอจนกว่าเทคโนโลยีใหม่จะเข้ามา Disrupt ตลาดอย่างรุนแรง แล้วจึงค่อยตื่นตระหนกหาทางแก้ไข
  2. สั่งTeam ให้เร่งพัฒนารูปแบบ สินค้า หรือธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อตอบโต้คู่แข่ง โดยไม่มีการวางแผนหรือวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
  3. ขาดการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และไม่รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงเรื่องที่น่ากังวลเท่านั้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ โอกาสที่องค์กรอาจจะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งที่ไม่รอช้าในการปรับตัว หรืออาจจะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในการพัฒนาสินค้า หรือธุรกิจใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

Proactive Leader

  1. ติดตามข่าวสารและแนวโน้มทางเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด คาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อธุรกิจในอนาคต
  2. จัดตั้งTeamเพื่อศึกษาและทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
  3. สนับสนุนให้Team มีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคDigital
  4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการทำงานเป็นTeam
  5. สื่อสารวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับรู้ร่วมกัน สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนร่วมมือทำงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป

   ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ องค์กรสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืน แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว รุนแรง และยังสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่ตลาด เช่น Jeff Bezos ที่สามารถพา Amazon ให้เติบโตจากร้านหนังสือ Online เล็ก ๆ สู่การเป็นธุรกิจ e-Commerce และ Cloud Computing ยักษ์ใหญ่ระดับโลก เป็นต้น

5 ทักษะของ Proactive Leader

   จากคุณลักษณะเชิงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Poor Leader และ Proactive Leader ในข้างต้น จึงเป็นที่มาของการรวบรวมเป็น 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้นำประเภท Proactive Leader ดังนี้

  1. Critical Thinking & Decision Makingคือ คุณลักษณะของผู้ที่มีความสามารถ “คิด” วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Emotional Intelligenceหรือที่เรามักเรียกว่า EQที่ Proactive Leader ต้องมีความเข้าใจ และสามารถบริหารอารมณ์ ทั้งของตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ Team ได้ดี
  3. Agility & Adaptabilityคือ คุณสมบัติการปรับตัว หรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว และอย่างเหมาะสม
  4. Communication & Influenceคือ ความสามารถด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิผล ชัดเจน มีพลังเชิงบวก ต่อการสร้างแรงบันดาลใจและการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ Team
  5. Innovation & Growth Mindsetหรือคุณลักษณะความเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ (Lifelong Learning) และพร้อมจะส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ขึ้นภายในองค์กร และ Team

การพัฒนาตนเอง สู่ผู้นำประเภท Proactive Leader

   หากพิจารณาจากผู้นำประเภท Proactive Leader ในประวัติศาสตร์จำนวนมาก อาจจะทำให้เราเชื่อว่าผู้นำเหล่านั้น เกิดมาพร้อมคุณสมบัติความเป็นผู้นำประเภท Proractive แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราสามารถที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และฝึกฝน เพื่อพัฒนายกระดับตนเอง สู่การเป็นผู้นำประเภท Proactive Leader ได้เช่นกัน คือ

  1. ปรับ Mindset ให้มีวิสัยทัศน์ เพื่อค้นหาโอกาสใหม่ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน เป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาด แทนที่จะรอให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ
  2. เรียนรู้ และพัฒนาทักษะการสื่อสาร ให้สามารถสื่อสารสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างชัดเจน สามารถโน้มน้าว หรือกระตุ้นพวกเขาให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมกันทำงานเป็น Team และอย่างมีเป้าหมาย
  3. เรียนรู้ และเพิ่มทักษะการบริหารสมัยใหม่ที่ทันกระแสความเปลี่ยนแปลง ผ่านการศึกษาด้วยตนเอง หรือหลักสูตรการศึกษาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เช่น MBA หรือ Mini MBA อย่างเช่นหลักสูตรต่าง ๆ ของ Fast Mini MBAที่มีชุดวิชาเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำแก่ผู้เข้าอบรม เป็นต้น
  4. Feedback & Self-Reflectionคือ การฝึกเปิดใจรับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาตนเอง องค์กร และ Team จากบุคคลรอบข้าง โดยปราศจากอคติ
  5. ลงมือทำทันที ด้วยการฝึกและสร้างอุปนิสัย คิด แล้วทำ

   การเป็นผู้นำประเภท Proactive Leader คือ กุญแจดอกสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ ที่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้สั่งการ หากแต่เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ รู้ และเข้าใจได้ล่วงหน้าถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก่อนจะส่งต่อไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมด้วยแรงบันดาลใจที่เข้มข้น ดังนั้น องค์กรที่มี Proactive Leader จึงเป็นองค์กรที่จะสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

โดยหลักสูตรต่าง ๆ ของ Fast Mini MBA อาจจะเป็นก้าวแรกของคุณ ในการพัฒนาทักษะสู่การเป็นผู้นำประเภท Proactive ที่เป็นที่ต้องการและจำเป็นขององค์กรต่าง ๆ ในยุค VUCA