ทดสอบ Idea ธุรกิจแบบเข้าใจง่าย ด้วย MVP (Minimum Viable Product)

   San Francisco ในสหรัฐอเมริกา คือ เมืองที่ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบและนวัตกรรมระดับโลก จึงมีการรวมตัวของนักออกแบบและนวัตกร (Innovator) เป็นเทศกาล Design Conference ในเมืองนี้อยู่บ่อยครั้ง และได้สร้างปัญหาด้านที่พักแก่ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก จน Brian Chesky และ Joe Gebbia เห็นโอกาสทางธุรกิจ จึงออกแบบ Website ง่าย ๆ ด้วยการเอารูปถ่าย Apartment ของตนเองมาเสนอให้ผู้มาประชุมเช่าพักพร้อมอาหารเช้า ซึ่งผลตอบรับ คือ มีผู้สนใจเช่าที่พักของพวกเขา … นี่คือ จุดเริ่มต้นของ Airbnb ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในวันนี้!

จุดกำเนิดของ Airbnb คือ รูปแบบหนึ่งของการทดสอบ Idea ธุรกิจ ที่เราเรียกว่า MVP หรือ Minimum Viable Product

   MVP เป็นทั้งแนวคิดและกลยุทธ์หนึ่งของการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจ ด้วยรูปแบบการทดสอบ Idea หรือแนวคิดใหม่ ๆ ทางธุรกิจแก่ตลาด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนและทุ่มเทเวลากับการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เพียงเพื่อได้คำตอบสุดท้ายว่า “ไม่ตอบโจทย์”

MVP (Minimum Viable Product) คือ?

   เราสามารถที่จะนิยามความหมายของ MVP ให้เป็นที่เข้าใจง่ายที่สุด คือ สินค้าหรือธุรกิจใน Version ที่เรียบง่ายที่สุด แต่มีระบบหรือ Function หลักต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงนำออกมาให้พวกเขาทดลองใช้ เพื่อทดสอบการใช้งานจริง เช่น แทนที่จะทุ่มเงินทุนและเวลา เพื่อพัฒนา Application สั่งอาหารให้เสร็จสมบูรณ์ในครั้งเดียว เราอาจเริ่มต้นด้วยการสร้าง Website ที่เรียบง่าย และใช้เพียงแบบฟอร์มสั่งอาหาร ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้ทดลองใช้ เพื่อทดสอบความสนใจของพวกเขา และประเมินประสิทธิภาพของระบบการสั่งอาหารที่เราออกแบบ ถึงความคุ้มค่าด้านการลงทุนจากระดับความสนใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ข้อบกพร่องที่ควรได้รับการปรับปรุง และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เช่นเดียวกับการเริ่มต้นของ Airbnb

ทดสอบ Idea ด้วย MVP

   เมื่อต้องการตัวช่วยในการพัฒนาสินค้าหรือธุรกิจให้ตอบโจทย์ทางการตลาด โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเททรัพยากรขององค์กรในห้วงเวลาแห่งความผันผวน เปราะบาง จากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในทุก ๆ วัน ด้วย MVP จะประกอบด้วยแนวคิด (Concept) ที่เราควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น คือ

  1. ให้ความสำคัญกับจุดขาย (Selling Point) ที่สินค้าหรือธุรกิจ จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น ร้านเสื้อผ้า Online ควรเริ่มต้นด้วยการนำเสนอ (Post) รูปแบบเสื้อผ้า เนื้อผ้า การออกแบบ และการตัดเย็บของร้านในสื่อสังคม Online เช่น Facebook หรือ Instagram โดยการรับคำสั่งซื้อ (Order) ผ่านDirect Messageที่สะดวกทั้งกับเราและลูกค้า เป็นต้น
  2. มีช่องทางอธิบายวิธีทำงานของสินค้าหรือธุรกิจให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ง่าย เช่น อธิบายวิธีสั่งซื้อสินค้าแก่ลูกค้าของร้านเสื้อผ้า Online ภายหลังจากการเลือกสินค้าที่ถูกใจผ่านสื่อสังคม Online ของร้านได้แล้ว ให้ส่งข้อความมาสั่งซื้อ และทางร้านจะจัดส่งสินค้าให้ทางไปรษณีย์ เป็นต้น
  3. อธิบายถึงข้อจำกัดการบริการของสินค้าหรือธุรกิจที่กำลังทดสอบ MVP อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เข้าใจถึงขอบเขตของการทดสอบครั้งนั้น ๆ เช่น ระบุช่องทางการรับชำระเงินค่าสินค้าของร้านเสื้อผ้า Online ผ่านระบบการโอนเงินเท่านั้น หรือรับคำสั่งซื้อสินค้าเฉพาะลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น เป็นต้น
  4. กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ทดสอบMVP แก่สินค้าหรือธุรกิจของเราให้ถูกต้อง และชัดเจน เช่นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านเสื้อผ้า Online คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อสังคม Online ในชีวิตประจำวัน ชอบการแต่งตัวตาม Trend ใหม่ ๆ ที่เป็นแนวคิด (Concept) ของร้าน เป็นต้น
  5. กำหนดดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสินค้าหรือธุรกิจที่ทดสอบMVPเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประเมินความสำเร็จ (หรือล้มเหลว) ที่เราและผู้เกี่ยวข้องรู้และเข้าใจร่วมกัน เช่น จำนวนผู้ชมสินค้าในสื่อสังคม Online ของร้านเสื้อผ้า Online ร่วมกับยอดสั่งซื้อ (Order) และความคิดเห็น (Feedback) เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและร้านเสื้อผ้าต่อไป เป็นต้น … โดยหลักการสำคัญของตัดสินใจทางการตลาดและธุรกิจในยุค VUCA คือ ความกล้าที่จะยกเลิกหรือล้มเลิก Idea ธุรกิจที่ให้ผลทดสอบ MVP ไม่ดี

   จากข้างต้น จะพบว่าการใช้ MVP เป็นเครื่องมือทดสอบสินค้าหรือธุรกิจใหม่ จะไม่เน้นการทุ่มเททรัพยากรด้านเงินทุน บุคลากร เทคโนโลยี และเวลาอย่างเต็มที่ เต็มรูปแบบ แต่มุ่งเน้นการเข้าถึงการทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจและการตลาดของสินค้าหรือธุรกิจที่ทดสอบด้วย MVP เป็นหลัก ภายใต้คำว่า เรียบง่ายที่สุด

   การใช้ MVP จะช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสให้เราสามารถทดลอง ทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดและธุรกิจแก่สินค้าหรือธุรกิจใหม่ได้มาก จนกระทั่ง ค้นพบสินค้าหรือธุรกิจที่ใช่ ตอบโจทย์ทางการตลาด แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญกับความสำเร็จทางธุรกิจที่ชาญฉลาดและเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น Dropbox ผู้ให้บริการจัดเก็บ File บน Claude หรือ Airbnb ที่ Fast Min MBA ได้ยกมาเป็นตัวอย่างในบทความนี้ และอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากในโลกธุรกิจวันนี้ ที่เกิดและเติบโตมาด้วย MVP หรือ Minimum Viable Product