Entries by admin

คน กับงานบริการ

     ในยุค Digital ที่นอกจากเราจะมีเครื่องจักร และเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานทางธุรกิจให้มีความคล่องตัวและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีแนวคิดด้านการบริหารและจัดการใหม่ ๆ ที่ได้ประยุกต์ให้เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ มาช่วยให้การกำหนดกลยุทธ์และบริหารธุรกิจของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ไม่นับรวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) และอื่น ๆ ที่ทำให้โลกใบนี้เล็กลง มีตลาดสำหรับธุรกิจที่กว้างใหญ่ขึ้น … และคู่แข่งที่เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

     การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยบังคับให้ทุก ๆ ธุรกิจ ต้องเพิ่มงานบริการมาเป็นส่วนควบของสินค้าที่เราผลิตและจำหน่ายอย่างแนบแน่น แม้กระทั่ง ในธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมยังต้องเพิ่มสายงานบริการลูกค้า หรือในธุรกิจบริการยังต้องเพิ่มบริการที่จะตอบได้ทุกโจทย์ของลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อการเก็บเกี่ยวและรักษาลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำ หรือที่เรียกว่า Brand Loyalty

     แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี หรือเครื่องมือต่าง ๆ ทำหน้าที่งานบริการได้ ตั้งแต่ระบบตอบรับอัตโนมัติ  (Interactive Voice Response : IVR) และ Chatbot หรือระบบผู้ช่วยผ่าน Application สื่อสารต่าง ๆ ถึงความพยายามให้หุ่นยนต์ และการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent : AI) ทำงานบริการแก่ลูกค้าแทนบุคลากรหรือคน แต่ทั้งหมดนี้ เชื่อได้หรือว่าจะสามารถสร้างประสบการณ์ประทับใจให้กับลูกค้าได้ตามที่เราต้องการ แต่ที่เชื่อได้มากกว่า คือ ในหลาย ๆ ประสบการณ์ เราคงเคยรู้สึกยอมแพ้ที่จะเรียกร้องสิ่งที่เราต้องการจากระบบอัตโนมัติ เช่น IVR หรือ Chatbot มาแล้วทั้งสิ้น

      งานบริการ ไม่ว่าจะในธุรกิจใด ๆ ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญที่มักถูกมองข้ามจากผู้ประกอบการหรือนักบริหาร คือ บุคลากรหรือคน เพราะแน่นอนว่าการบริหารคนย่อมยากและมีต้นทุนสูงกว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่บุคลากรหรือคนมีสิ่งที่เทคโนโลยี (ยัง) ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ คือ ความเข้าใจต่ออวัจนภาษาของลูกค้า และมีความเป็นมนุษย์ (Be Human) แน่ ๆ

     ดังนั้น เมื่อต้องการสร้างงานบริการให้โดดเด่น เป็นแรงดึงดูดลูกค้าใหม่และผูกมัดลูกค้าเก่าได้ เราจึงต้องมีบุคลากรมาทำหน้าที่สำคัญนี้ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหลักคิดสำหรับการบริหารบุคลากรสำหรับงานบริการ เราสามารถนำศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) มาปรับใช้ได้ ซึ่งในที่นี้ จะรวบตึงเป็น 3 ด้าน ให้เหมาะกับความเป็น Fast Mini MBA in Service Business คือ

  1. พัฒนาแผนบริการ และบุคลากรงานบริการ

     มีเทคนิคที่จะช่วยให้เราพัฒนาแผนบริการที่มีประสิทธิภาพ คือ การพัฒนาจาก Customer Journey โดยใส่รูปแบบการบริการที่เหมาะสม และตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการการบริการจากเราลงไปในทุก ๆ Touchpoint ของ Customer Journey ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละ Touchpoint นั้น เราคงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คนลงไปให้บริการลูกค้า แต่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทำหน้าที่แทนได้ เช่น การใช้ Website, Social Media, IVR หรือ Chatbot เพื่อให้บริการด้านข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ลูกค้า ดังนั้น การพัฒนาแผนบริการ จึงทำให้เราพบแผนบริหารบุคลากรในงานบริการของเรา ทั้งในด้านอัตรา และ Job Description ไปพร้อมกันอีกด้วย

     ทั้งนี้ ในการพัฒนาแผนบริการและแผนการใช้บุคลากรในงานบริการของเรา ต้องไม่กลัวที่จะถามหรือปรึกษาผู้รู้ที่มีประสบการณ์งานบริการ และจงคิดจากฝั่งของลูกค้า หรือ “เอาใจเขา ใส่ใจเรา” นั่นเอง

  1. สรรหา และคัดเลือกบุคลากร

     การพัฒนาแผนบริการในข้างต้น อาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในธุรกิจของเรา ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเพื่อตอบสนองแผนงานบริการของเรา สามารถสรรหาและโยกย้ายบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ได้ด้วย ในกรณีดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลาสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของเราได้มาก ขณะที่พวกเขาไม่ต้องเสียเวลาปรับตัวทำงานกับเรา ที่สำคัญ คือ เราจะสามารถกำหนดแนวทางพัฒนาศักยภาพของพวกเขา บน Career Path ใหม่ ได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้น

     สำหรับกรณีที่ต้องสรรหา และคัดเลือกบุคลากรใหม่ เราสามารถใช้กระบวนการและช่องทางปกติของการสรรหา และการศึกษา Resume จากใบสมัครร่วมกับการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ และทัศนคติของบุคลากร เพื่อคัดเลือกให้ได้คนที่ใช่กับงานที่รออยู่ของเรามากที่สุด

     ทั้งนี้ อย่ามองข้าม Social Media อย่าง Linkedin ที่เราจะสามารถเข้าไปศึกษา Resume ของบุคลากรในตำแหน่งที่เรากำลังต้องการได้ พร้อมไปกับการสำรวจทัศนคติผ่านรูปแบบการใช้ Social Media ต่าง ๆ ของพวกเขา ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจสำหรับการสรรหา และคัดเลือกบุคลากที่ใช่สำหรับเราในวันนี้

     ไม่ว่าบุคลากรที่เราเลือกจะมีที่จากภายในหรือภายนอกธุรกิจของเรา ต้องไม่ลืมว่าภาระกิจที่รอพวกเขาอยู่นั้น ต้องการบุคลากรที่มี Service Mind จริง ๆ ซึ่งในการค้นหาบุคลากรที่ใช่เช่นนี้ จะได้นำเสนอในหัวข้อบทความต่อไป

  1. พัฒนา และรักษาบุคลากร

     การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และเชี่ยวชาญ สำหรับงานบริการหรือแม้แต่งานอื่น ๆ สำหรับธุรกิจของเรา ไม่ได้มีเพียงการจัด Course ฝึกอบรมเท่านั้น แต่สามารถประยุกต์แนวทางการพัฒนาบุคลากรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การ Workshop แบ่งปันประสบการณ์ภายในและระหว่างหน่วยงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระบบงานต่าง ๆ ของธุรกิจแก่บุคลากร ซึ่งจะช่วยให้การให้บริการแก่ลูกค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึง การใช้ระบบพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาแก่บุคลากร เป็นต้น

     การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ และทัศนคติเชิงบวกต่องานบริการ จะเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างความผูกพันระหว่างเรากับลูกค้า ดังนั้น เราต้องไม่ลืมสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจของเรา คือ การรักษาบุคลากรคุณภาพเหล่านั้นไว้กับเรา ซึ่งมีหลักการเพียงไม่กี่ข้อที่ขึ้นอยู่กับตัวเราในฐานะผู้นำของพวกเขา คือ การให้ค่าตอบแทนหรือรายได้ที่คุ้มค่าแก่พวกเขา สร้างบรรยากาศการทำงานที่สนุก อบอุ่น และต้องแสดงให้พวกเขาเห็นเส้นทางความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขาภายใต้การบริหารและจัดการของเรา

     เราไม่สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีเพียงสิ่งเดียว แล้วจะหวังผลเลิศด้านงานบริการลูกค้า และเราคงไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีอย่างที่ต้องการด้วยบุคลากรที่ปราศจาก Service Mind หรือถึงแม้ว่าเราจะมีพร้อมทั้งเทคโนโลยี และบุคลากรที่มีทัศนคติเชิงบวกต่องานบริการลูกค้า เราอาจจะยังไม่สามารถสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า จนได้มาซึ่ง Brand Loyalty … หากเราเองไม่มี Service Mind ให้กับลูกค้า และบุคลากรของเรา


เมื่อสินค้าขององค์กรถูกเลียนแบบได้ง่ายดาย การสร้างความแตกต่างด้วยการเพิ่มการบริการในสินค้า คือทางออกของการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและสร้างความแตกต่าง เรียนรู้การจัดการธุรกิจบริการ ด้วยหลักสูตร Fast Mini MBA : Service Business Management

คลิกเพื่อดูละอียดที่ :  https://www.fastminimba.com/fast-mini-mba-for-service-business-management/

บริการถูกจริต ธุรกิจอยู่ยาว

    ของบางอย่าง ถ้า ถูกใจ ก็อาจแค่ครั้งเดียว แต่ถ้า ถูกจริต อาจหมายถึงติดใจตลอดไป ซึ่งหากธุรกิจทำได้ จนมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด ธุรกิจก็มีแววรุ่งอย่างแน่นอน เพราะลูกค้าจะกลับมาใช้บริการนั้นอยู่เสมอ แถมยังบอกต่อคนอื่นๆ ให้มาใช้บริการแบบเดียวกับเขา

มองเราในมุมลูกค้า เพื่อคว้าใจเขามา

     ก่อนจะทำธุรกิจจึงต้องอาศัย การมองโลกจากมุมมองของลูกค้า ที่มีตั้งแต่ลูกค้าค้นหาบริการ ลูกค้าเปรียบเทียบ ลูกค้าอยากเรียนรู้กับบริการมากขึ้น จนถึงลูกค้าใกล้จะเลือกซื้อ ใช้บริการ หลังใช้บริการ จนถึงมาใช้บริการซ้ำ ธุรกิจจะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าอย่างไร ผ่านช่องทางOnline หรือ Offline เช่น การให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษา โดยจะต้องวางแผนให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง ก่อนซื้อ ระหว่างซื้อ และหลังซื้อ ของลูกค้าด้วย จะได้สอดคล้องกับความคาดหวัง และเส้นทางในการเลือกซื้อของลูกค้า หรือที่เราเรียกกันเสมอว่า Customer Journey นั่นเอง ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น และสามารถออกแบบบริการและประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพิ่มยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจ

เมื่อให้บริการ ทำไงให้สะกดใจเขา

     เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนให้บริการก็ให้ลองนึกถึงประสบการณ์การให้บริการที่ดีที่สุดที่เราเคยได้รับ การบริการที่ยังตราตรึงในใจ ประสบการณ์การนั้นส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไร ลองเปรียบเทียบกับครั้งสุดท้ายที่เรามีประสบการณ์อันไม่น่าพึงพอใจในฐานะลูกค้า ในโลกที่ลูกค้าคือผู้มีอิทธิพลสำคัญ การให้บริการที่เราเองก็ประทับใจ คือ เครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจ ดังนั้น ความเข้าใจในศิลปะของการสร้างประสบการณ์การบริการที่ยอดเยี่ยม ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบุคลากรในงานบริการ เพราะทักษะเหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

มัดใจให้เขา ไม่ทิ้งเราไป

     หลังจากมัดใจในการให้บริการด้วยความประทับใจได้แล้ว ความใส่ใจกับการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นไว้คือสิ่งสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกูรูทางการตลาดอย่าง Philip Kotler ที่บอกว่า การเสนอขายสินค้าให้ลูกค้าใหม่ มี ต้นทุนสูงกว่าการเสนอขายสินค้าให้ลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า ดังนั้น การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกขั้นตอน ไม่เพียงแค่รักษาลูกค้าปัจจุบัน แต่ยังช่วยให้เราสามารถดึงลูกค้ากลับมาและหาลูกค้าใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • รักษาลูกค้าปัจจุบัน: ด้วยการติดตามประวัติการใช้บริการพฤติกรรมการใช้จ่าย และข้อมูลอื่นๆ ของลูกค้า จากนั้นใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับแต่งการสื่อสารและข้อเสนอที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งจะช่วยสร้างความประทับใจและภักดีต่อแบรนด์
  • ดึงลูกค้าเก่ากลับมา: ด้วยการติดตามประวัติการใช้บริการพฤติกรรมการใช้จ่าย และข้อมูลอื่นๆ ของลูกค้า จากนั้นใช้ข้อมูลนี้เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารและข้อเสนอพิเศษที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีกครั้ง
  • หาลูกค้าใหม่: ด้วยการติดตามพฤติกรรมการค้นหาและความสนใจของผู้ใช้บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน จากนั้นใช้ข้อมูลนี้เพื่อสร้างโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น

    ด้วยการวางแผนที่เข้าใจมุมมองและเส้นทางของลูกค้า การให้บริการที่เน้นความเป็นเลิศ และการสานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อเรา และเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตและความสำเร็จองธุรกิจได้ในระยะยาว


เมื่อสินค้าขององค์กรถูกเลียนแบบได้ง่ายดาย การสร้างความแตกต่างด้วยการเพิ่มการบริการในสินค้า คือทางออกของการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและสร้างความแตกต่าง เรียนรู้การจัดการธุรกิจบริการ ด้วยหลักสูตร Fast Mini MBA : Service Business Management

ดูรายละอียดที่ : https://www.fastminimba.com

กรอกข้อมูลการสมัคร ใน Google From : https://forms.gle/5CeGGzXCu9R7ptcb7

กับดักการจัดการ SCM in e-Business

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงการปรับตัวตามกระแสเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในทุก ๆ ระดับของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในแต่ละอุตสาหกรรม และทุก ๆ มิติของการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจ … จึงอาจจะกล่าวได้ว่า เรามาถึงยุค e -Business แล้ว!

เพราะหากเรานำนิยาม หรือความหมาย ของ e-Business ที่มีผู้รู้ได้อธิบายไว้ คือ การใช้เทคโนโลยี และเครือข่าย (Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งภายใน-ภายนอกองค์กร ตั้งแต่ Suppliers พันธมิตร คู่ค้า ถึงลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น นั่นคือ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนนั่นเอง

การเพิ่มยอดขาย คือ การใช้เทคโนโลยี และช่องทางการสื่อสาร Online ต่าง ๆ เพื่อการสร้างช่องทางการตลาดสำหรับการเข้าถึง นำเสนอสินค้าหรือบริการของเราให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับนำข้อมูลทางการตลาดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาประเมินและวิเคราะห์ ให้เรารู้จัก รู้ใจ ที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการลดต้นทุนด้วยเทคโนโลยี ในแบบ e-Business นั้น คือ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของเราด้วยเทคโนโลยี และเครือข่ายสารสนเทศ ที่เชื่อมต่อการทำงานกับ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้าของเราได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ Supply Chain Management (SCM) ที่ช่วยให้เราบริหารงานได้อย่างมีคุณภาพ ตรงหรือทันเวลา (Just in Time) ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดแก่เรา

 

การพัฒนา SCM สำหรับ e-Business ในวันนี้ แม้จะไม่ใช่เรื่องยากเหมือนอดีต แต่ยังมีกับดักที่อาจจะสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่กับธุรกิจของเราได้เช่นกัน ซึ่งกับดักใน SCM มีหลายด้าน บางแหล่งข้อมูลอาจจะรวบรวมได้มากกว่า 10 เรื่อง แต่ในที่นี้ขอรวบตึงให้เหลือประเด็นสำคัญ ๆ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม ถึงการนำ SCM มาปรับใช้ในธุรกิจของเรา ได้เป็น 5 เรื่อง คือ

  1. ตรวจสอบการจัดการSupply Chain ในปัจจุบันของเรา… ไม่ครบวงจร

ควรค้นหาจุดอ่อนที่ต้องได้รับการแก้ไข และจุดแข็งที่จะสามารถยกระดับได้ด้วยการประยุกต์ใช้ SCM สำหรับ e-Business

การตรวจสอบการจัดการ Supply Chain ของเรา ควรให้ทราบทุกขั้นตอนของธุรกรรม หรือ Transaction ที่เกิดขึ้น และไม่ได้เป็นเพียงการตรวจสอบย้อนกลับจากคลังสินค้าของเราไปสู่ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้า เท่านั้น แต่ต้องตรวจสอบจากคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังคลังสินค้าของเราด้วย เพราะในปัจจุบันที่มี OMNI Channel ขึ้นมาให้ความสะดวก หรือตามใจลูกค้ามากขึ้น ยิ่งทำให้ SCM มีความซับซ้อนขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยประกอบการตัดสินใจเลือกระบบ SCM ของเราต่อไป

  1. เลือกใช้ SCM… ไม่เหมาะสม

การเลือกใช้ระบบ หรือ Application เกี่ยวกับ SCM ที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้มีปัจจัยการพิจารณาจากรูปแบบการดำเนินงานหรือธุรกิจของเราเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึงความสามารถเชื่อมต่อการทำงานระหว่างเรากับ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้าของเราได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งมีแนวทาง และแนวคิดสำหรับการพิจารณา SCM คือ

– แก้ไขจุดอ่อน และสนับสนุนจุดแข็งใน Supply Chain ของเรา หรือไม่?

– รองรับปริมาณ Transaction ที่อาจจะเพิ่มขึ้นกว่าปกติ หรือไม่?

– รองรับคำสั่งซื้อในรูปแบบ OMNI Channel หรือไม่?

– รองรับกลยุทธ์ หรือแผนธุรกิจในอนาคต หรือไม่?

– เชื่อมต่อ หรือทำงานร่วมกับระบบ SCM ของ Suppliers และพันธมิตร หรือไม่?

  1. 3สินค้าคงคลัง …  ยังไม่ Lean & Just in Time

สินค้าคงคลังตามแนวคิด SCM สำหรับ e-Business ไม่ได้มีเพียงสินค้าสำเร็จรูป พร้อมขาย พร้อมจัดส่ง รออยู่ในคลังสินค้าของเราเท่านั้น แต่หมายความถึง สินค้าที่อยู่ระหว่างผลิต และการจัดส่ง ที่เราต้องรู้ ต้องตรวจสอบนับจำนวนได้ถูกต้องแม่นยำแบบ Realtime เพื่อป้องกันการรับคำสั่งซื้อสินค้าที่ไม่มีในคลังสินค้า หรือมีสินค้าล้นคลังจนกลายเป็นต้นทุนที่เราต้องแบกรับภาระไป

การบริหารสินค้าคงคลังที่เหมาะสม คือ ควรใช้ Lean Management และ Just in Time มาประยุกต์ร่วมกับระบบ SCM ที่จะข่วยป้องกันความบกพร่องจากการบริหารสินค้าคงคลังของเรา

 
  1. 4ผู้ให้บริการLogistics … มีศักยภาพหรือไม่?

บทบาทและงานด้าน Logistics จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ แต่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้า การจัดจำหน่าย และการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ดังนั้น Logistics จึงเป็นส่วนงานที่น่าเป็นห่วงใน SCM เพราะความยากกับการจัดการให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และแน่นอนเสมอไปใน Supply Chain ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจที่มี Supply Chain ที่ซับซ้อนมาก ๆ

ในกรณีที่เราไม่ได้มีหรือบริหาร Logistics ด้วยตัวเอง การ Outsource งานดังกล่าว ให้กับผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทาง หรือผู้ให้บริการ Logistics คือ ทางออกที่เหมาะสม แต่เป็นความเหมาะสมที่มาพร้อมกับความเสี่ยง หรือเป็นกับดักของ SCM ที่สำคัญที่สุดของเรา เพราะแทนที่เราจะบริหาร Supply Chain ของเราให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เร็วขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำ แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากเกิดข้อบกพร่องด้าน Logistics หรือการขนส่งขึ้นในระบบ Supply Chain ของเรา

จุดใดจุดหนึ่งที่บกพร่องจาก Logistics เช่น การจัดส่งล่าช้าจาก Suppliers สินค้าตกค้างระหว่างการผลิต การจัดส่งสินค้าไปยังช่องทางจัดจำหน่ายหรือลูกค้าไม่ตรงเวลา ฯลฯ สามารถสร้างผลกระทบต่อธุรกิจ และ Brand ของเราได้มาก ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการ Logistics จึงควรตรวจสอบศักยภาพ และประวัติการดำเนินงานของผู้ให้บริการให้ดีและรอบคอบ พร้อมกับการจัดทำแผนสำรองเผื่อไว้เสมออีกด้วย

  1. ฝึกอบรมบุคลากร

เมื่อยกระดับธุรกิจมาสู่ e-Business ด้วย SCM หรือ Supply Chain Management แล้ว ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ให้รู้และเข้าใจการใช้งานระบบ ทั้งการใช้งานระบบในภาวะปกติ และการใช้งานภายใต้สถานการณ์พิเศษต่าง ๆ ที่เราจำลองสถานการณ์ขึ้นมา ให้บุคลากรได้เรียนรู้ และพร้อมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ทันสถานการณ์

 

      การดำเนินธุรกิจในวันนี้ แม้จะอยากหรือไม่อยากเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสู่การเป็น e-Business ทั้งด้วยการผลักดันจากภายในธุรกิจ โดยตัวเราเอง หุ้นส่วน หรือแม้แต่บุคลากร แต่ที่น่าจะเป็นแรงผลักดัน และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า คือ แรงผลักดันจากภายนอก ทั้งจาก Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้า ที่ย่อมต้องการให้เรานำ SCM มาใช้งาน เพื่อสร้างระบบการทำงานที่ง่าย มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ให้เกิดขึ้นร่วมกัน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ แรงผลักดันจากลูกค้า ลูกค้า และลูกค้า

Social Media เครื่องมือการตลาดยุค Digital ถ้าไม่มี ว้าวุ่นเลย!

 การเกิดและเริ่มต้นใช้สื่อ Digital เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล และสร้างกลุ่มสังคม Online แม้จะมีมากว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุค MSN และ Hi5 มาสู่ BB ของค่าย BlackBerry แล้วจึงเริ่มมี Platform ใหม่ ๆ ที่ใช้งานง่ายผ่าน Smartphone ที่มีติดมือผู้คนในสังคมแทบทุกคน เช่น WhatsApp และที่สร้างความตื่นตัวในสังคมอย่างมาก คือ การมาของ Facebook และ Twitter (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น X) ที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในสังคมไปสู่รูปแบบสื่อสังคม Online หรือที่เรียกติดปากว่า Social Media

     Social Media เป็นทั้งรูปแบบและช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลถึงกลุ่มสังคมต่าง ๆ ของแต่ละคน ทั้งยังให้โอกาสที่เราจะสามารถเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสารของใครคนหนึ่ง ที่เราอาจจะรู้หรือไม่รู้จัก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาศักยภาพของช่องทางสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เหมือนในอดีต จนมีการรวบรวมจำนวนผู้ใช้ Social Media ที่มากถึง 4.8 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรโลกที่มีกว่า 8 พันล้านคนในปัจจุบัน

     จะด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มากกว่าค่อนโลก หรือเพราะการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้พัฒนา Social Media ค่ายต่าง ๆ แต่ล้วนมีส่วนผลักดันให้ Social Media ได้พัฒนาตัวเองให้เป็นเครื่องมือการตลาดที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเครื่องมือหรือสื่ออื่น ๆ ที่เคยมีมาในอดีต จนเป็นรากฐานสำคัญของการตลาดยุค Digital ที่องค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลก มีมูลค่าของ Brand มหาศาล หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร สถาบันการศึกษา ร้านค้าในชุมชน ถึงมือใหม่หัดขาย หัดทำธุรกิจ ล้วนต้องใช้ Social Media เป็นเครื่องมือการตลาดของตนทั้งสิ้น

   ทั้งนี้ เพราะ Social Media เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ให้พวกเขาได้รับรู้ รู้จัก Brand ใน Image เชิงบวกที่นักการตลาดต้องการได้โดยตรง และการใช้ Social Media อย่างมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม จะสร้างความแตกต่างทางการตลาดจากคู่แข่ง สร้างผลลัพธ์ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ยอดขาย กำไร หรือแม้แต่การสร้าง Brand Loyalty กับลูกค้า

เมื่อ Social Media เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่จะไม่มีไม่ได้อีกแล้วในวันนี้ เราจึงควรทำความรู้จักและเข้าใจในประโยชน์ทางการตลาดของ Social Media ในแบบ Social Media Marketing ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในแผนหรือกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา

  1. การทำงานของ Social MediaMarketing

Social Media Marketing คือ รูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยมี Social Media เป็นเครื่องมือหลักของการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยให้แผนหรือกลยุทธ์ทางการตลาดของเราสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการบริหารและจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าในทุก ๆ Touchpoint บน Customer Journey ของเรา

โดยหลักการทำงานของ Social Media Marketing คือ การพัฒนา Content หรือเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กับ Brand ในรูปแบบการทำงาน 2 แนวทาง คือ

– Organic คือ การพัฒนา Content ที่เราไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ให้บริการ Social Media จึงมักมีวัตถุประสงค์ของการพัฒนา Content ลักษณะนี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่าง Brand ของเรากับลูกค้า ด้วย Content ที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในแง่มุมต่าง ๆ ของลูกค้าเป็นหลัก

– Paid คือ การพัฒนา Content ที่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงผู้ใช้ Social Media กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ โดยพิจารณาหรือเลือกจากข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และความสนใจที่มีความสัมพันธ์กับ Brand ของเรา เพื่อขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ Social Media และผลลัพธ์ทางการตลาดที่จะได้รับ คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น

  1. เพิ่มการรับรู้ และรู้จัก Brand

เพราะมีผู้ใช้ Social Media ในบัจจุบันกว่า 4.8 พันล้านคน โดยเฉพาะในประเทศไทย ยังมีกว่า 53 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 จากจำนวนประชากรไทยกว่า 70 ล้านคน ดังนั้น ไม่ว่าเราจะต้องการค้นหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่จากอีกทวีปหนึ่ง หรือสร้างการรับรู้ Brand ของเรากับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในจังหวัดเล็ก ๆ … ล้วนทำได้ทั้งหมดด้วย Social Media Marketing

โดยมีสมการที่นักการตลาดเข้าใจเป็นอย่างดี คือ เมื่อกลุ่มเป้าหมายรับรู้ หรือรู้จัก Brand มากขึ้น ย่อมเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นเช่นกัน

  1. คุ้มค่าการลงทุน

การออกแบบกลยุทธ์ Social Media Marketing ที่ผ่านการศึกษาและออกแบบแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบรอบด้าน จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนด้านการตลาดผ่านสื่อ Social Media ได้อย่างคุ้มค่า เมื่อเทียบจากต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไป จากการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการได้โดยตรงและเป็นจำนวนมาก

เพราะโดยทั่วไปของการใช้ Social Media เป็นเครื่องมือทางการตลาดของเรา จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น จนเมื่อเราจำเป็นหรือต้องการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้น จากผู้ใช้ Social Media ด้วยการจ่ายค่าเข้าถึงผู้ใช้ Social Media กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้กับผู้บริการ หรือที่เรียกว่า Paid … แต่หากเรามีการออกแบบการพัฒนา Content ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง อาจจะขยายฐานลูกค้าออกไปได้เพิ่มขึ้นในแนวทางการทำงานแบบ Organic เช่นกัน

  1. เพิ่มประสิทธิภาพ SEO

SEO หรือ Search Engine Optimize คือ การทำให้ Website ที่เป็นช่องทางหลักในสื่อ Digital มีคุณสมบัติที่ Search Engine ต่าง ๆ เช่น Google หรือ Bing จะให้การยอมรับและติดอันดับที่ดีในหน้าการค้นหาของแต่ละค่าย โดยคุณสมบัติที่สำคัญของ Website ที่มี SEO คือ การมีผู้เข้าชม (Visitors) Website จำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง … จากข้างต้น อาจจะไม่พบความเชื่อมโยงที่ Social Media จะเพิ่มประสิทธิภาพ SEO ให้กับ Website ได้อย่างไร?

การออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ Social Media Marketing ไม่ได้หมายถึง การใช้ Social Media เป็นเครื่องมือดำเนินงานเพียงเครื่องมือเดียว แต่ต้องมี Website ของ Brand เป็นเสมือนคลังเก็บ Content ที่อยู่ภายใต้การบริหารและจัดการของเราอย่างเบ็ดเสร็จ แล้วให้ Social Media ทำหน้าที่ Marketing Arm ออกไปนำเสนอ Content ที่น่าสนใจแก่ลูกค้าของเราและกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจ เพื่อให้พวกเขาได้รับรู้และนำทางพวกเขา (Click Link) มายัง Website ของเรา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่ม Traffic เพิ่ม SEO แก่ Website ของเรานั่นเอง

  1. การบริการลูกค้า … ดีขึ้น

เพราะ Social Media เป็นสื่อ Digital ประจำตัวและประจำวันของผู้คนเกือบทุกคนในสังคม นั่นย่อมหมายถึง ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราใช้ Social Media ในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน ดังนั้น การออกแบบกลยุทธ์สำหรับ Social Media Marketing จึงต้องไม่ลืมการให้บริการลูกค้าบน Social Media ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ลูกค้าสนใจหรือต้องการ การให้คำแนะนำหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่รวดเร็ว

การบริการที่ดีขึ้นจะช่วยเพิ่ม Image เชิงบวกกับ Brand ของเราได้มากขึ้น แต่เหนือกว่านั้น คือ เราควรเรียนรู้ที่จะเก็บข้อมูลรูปแบบการตัดสินใจซื้อ การใช้ และปัญหาที่ลูกค้าพบ เพื่อปรับปรุงแผนและกลยุทธ์การตลาดของเราให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไปอีกด้วย

Social Media ในบทบาทของเครื่องมือการตลาดในยุค Digital อาจจะก่อให้เกิดความว้าวุ่นกับนักการตลาดยุค Analog และ Digital ยุคแรก ๆ อย่างมาก แต่ยังนับว่าคุ้มค่ามากที่จะเรียนรู้และเริ่มใช้มัน ให้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในโลก Social Media ทั้งจากการทดลองเรียนรู้การใช้งานด้วยตนเอง (On the Job Training) หรือผ่านคำแนะนำจากประสบการณ์จริงของนักการตลาดยุค Digital มากมายในหลักสูตร Fast Mini MBA : Strategic Digital Marketing 

สุดท้ายนี้ ขอทุกท่านจงสนุกกับการ Post!

องค์ประกอบการจัดการ Supply Chain ให้สำเร็จ

องค์ประกอบการจัดการ Supply Chain ให้สำเร็จ
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) และรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่ทยอยเข้ามามีบทบาททั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องพัฒนาและยกระดับสู่ e-Business ทั้งในระดับปรับใช้เทคโนโลยีให้เป็นเครื่องมือเล็ก ๆ ระบบหนึ่งของระบบงานทั้งหมดในธุรกิจ ถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างเช้มข้น ตั้งแต่การประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงลูกค้า เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เพิ่มยอดขาย และสร้าง Brand Loyalty รวมตลอดถึง การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน ด้วยการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหาร Supply Chain ของธุรกิจ ให้เชื่อมต่อการดำเนินงานอย่างไร้รอยต่อ ตั้งแต่การประเมินความต้องการ รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ย้อนกลับไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อและบริหารการจัดส่งวัตถุดิบจาก Suppliers สู่สายพานการผลิต เป็นสินค้าที่ขนส่งถึงมือลูกค้าในที่สุด หรือที่เรียกว่า Supply Chain Management (SCM)

Fast Mini MBA Supply Chain Management for e-Business ได้เคยกล่าวถึงความไม่ยากที่จะนำ SCM มายกระดับการดำเนินธุรกิจของเรา แต่ในความไม่ยากนั้นมีกับดักที่อาจจะเป็นสาเหตุของความล้มเหลวด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อรู้ว่ามีปัจจัยที่เป็นกับดักแล้ว ย่อมควรรู้ว่ามีองค์ประกอบที่เป็น Key Success Factors ที่จะนำ SCM มาเป็นเครื่องมือยกระดับธุรกิจสู่ e-Business ที่สมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน คือ

ผู้นำต้องแน่วแน่กับ SCM
สำหรับธุรกิจที่อยู่ในช่วงริเริ่มที่จะนำ SCM มายกระดับธุรกิจ มักจะเกิดแรงกระเพื่อมขึ้นในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ เพราะ SCM จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานโดยรวมของธุรกิจ จึงย่อมนำมาซึ่งแรงต้านจากบุคลากรที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (จำนวนหนึ่ง) อย่างแน่นอน ดังนั้น เราจึงต้องมีความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น แน่วแน่ เด็ดขาด และเป็นธรรม ต่อการนำ SCM มายกระดับธุรกิจ ด้วยการสื่อสารถึงความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องใช้ SCM ร่วมกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันแก่บุคลากร ให้พวกเขาเรียนรู้และยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

SCM ต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ
ต้องกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับการยกระดับธุรกิจโดยมี SCM เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดกรอบการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานให้เหมาะสม มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ และการประเมิน SCM ด้วยดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกลยุทธ์ธุรกิจ

ลูกค้า ลูกค้า ลูกค้า
ในหลาย ๆ บทความของ Fast Mini MBA จะย้ำเสมอว่าการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางของทุก ๆ กลยุทธ์หรือกิจกรรมการดำเนินงานของเรา ดังนั้น ในการประยุกต์ SCM เพื่อยกระดับธุรกิจของเรา จึงต้องวิเคราะห์จากความเข้าใจถึงความคาดหวังที่ลูกค้าต้องการจากธุรกิจของเรา เพื่อใช้เป็นแนวทางพิจารณา SCM ให้มีระบบการทำงานตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ตรงตามความคาดหวังของพวกเขาอย่างแท้จริง

บูรณาการการใช้SCMตลอดห่วงโซ่อุปทาน
SCM จะแสดงบทบาทระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อสามารถเชื่อมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างลูกค้ากับเรา และเรากับ Suppliers อย่างไร้รอยต่อ ด้วยระบบการดำเนินงานร่วมกัน ที่มีการแบ่งปัน (Share) ข้อมูลธุรกรรมทางการค้าระหว่างกันอย่างโปร่งใส กล่าวคือ SCM จะช่วยให้เราคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้แม่นยำ ขณะที่ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีขึ้น ด้วยราคาที่เหมาะสม ในอีกด้านหนึ่งระหว่างเรากับ Suppliers ที่จะลดระยะเวลารอคอยวัตถุดิบ และต้นทุนบริหารสินค้าคงคลังที่ต่ำให้กับเรา ในขณะที่ Suppliers สามารถคาดการณ์ความต้องการวัตถุดิบของเราได้แม่นยำ เพื่อจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

มีแผนสองรองรับ
การมีแผนสำรองรองรับ SCM เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่มองข้ามไม่ได้ ในกรณีที่ SCM ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือแม้แต่ความสามารถป้อนวัตถุดิบของ Suppliers ที่ไม่เสถียร ฯลฯ ล้วนเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราจึงควรมีกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงจากการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น พร้อมกับแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ที่บุคลากรของเรารู้และมีความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

ทั้งนี้ ระบบ SCM ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีดัชนีที่สามารถแจ้งเตือนให้เราสามารถประเมินศักยภาพของ Suppliers ได้ล่วงหน้า เพื่อสร้างทางเลือกก่อนเกิดวิกฤติการณ์หรือปัญหาขึ้นในการดำเนินงานของเรา … พึงตระหนักเสมอว่าเรายังอยู่ในยุค VUCA ที่ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน

KPI ชัดเจน
เราทราบโดยทั่วไปแล้วว่า SCM ช่วยยกระดับธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ มีความมั่นคงด้านวัตถุดิบ และความรวดเร็วที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะนำมาปรับปรุงใช้เป็นดัชนีชี้วัด หรือ KPI ของ SCM ได้ในระดับหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ควรมีการศึกษาให้เข้าใจกระบวนการการทำงานของ SCM ทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทานของเรา แล้วจึงจัดแบ่งกลุ่มกระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เพื่อกำหนด KPI ตามความรับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมที่ต่อเนื่องไปตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น KPI ด้านความคุ้มทุน ประสิทธิภาพของกระบวนการหรือกิจกรรม ประสิทธิภาพของบุคลากร รอบเวลาเปรียบเทียบกับคุณภาพของผลผลิต เป็นต้น และที่สำคัญกว่านั้น คือ KPI ของ SCM ที่จะต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของกลยุทธ์ธุรกิจของเรา

ทั้งการได้รู้ถึงกับดับ และ Key Success Factors ของการนำ Supply Chain Management หรือ SCM มายกระดับธุรกิจของเราสู่การเป็น e-Business แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การเรียนรู้อย่างเจาะลึกถึงระบบการบริหารและจัดการ Supply Chain ตั้งแต่แนวคิด หลักการ วิธีการ และตัวอย่างการใช้ SCM ทั้งในกรณีที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งมีอยู่ในหลักสูตร Fast Mini MBA Supply Chain Management for e-Business ก่อนจะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อนำ SCM มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป และต้องไม่ลืมการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนได้ทราบอย่างเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็น ของ SCM และ Action Plan ดังกล่าวอย่างทั่วถึงด้วยเช่นกัน

Logistics ไม่ใช่ Supply Chain Management

Logistics ไม่ใช่ Supply Chain Management

     ในโลกบริหารและจัดการทางธุรกิจ มักมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักบริหารหรือผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ซึ่งเชื่อว่า Logistics คือ Supply Chain Management (SCM) เพราะในความเป็นจริงแล้ว Logistics ไม่ใช่ SCM ดังชื่อบทความนี้ แต่ SCM จะขาด Logistics ไม่ได้!!!

     โดย Fast Mini MBA ได้เคยกล่าวถึงบทบาท และวัตถุประสงค์ของ SCM และระบบย่อยต่าง ๆ ของ SCM เช่น Just in Time (JIT) หรือ Lean Management (Lean) ที่ต่างทำงานสอดประสานกัน ภายใต้เทคโนโลยี และเครือข่ายสารสนเทศ ที่เชื่อมการทำงานของเรากับ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้าของเรา เพื่อช่วยให้เราบริหารธุรกิจได้อย่างมีคุณภาพ ผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนด้านสินค้าคงคลังต่ำในแบบ JIT และ Lean ถึงการจัดส่งสินค้าพร้อมใช้ให้แก่ลูกค้าได้ตรงตามกำหนด ซึ่งการจัดการด้านการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบจาก Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้า สู่สายการผลิต และส่งมอบให้แก่ลูกค้าในที่สุดนั้น เราต้องมีระบบบริหารการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ และนั่นคือ บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ Logistics ใน SCM อย่างแท้จริง

     ดังนั้น ก่อนที่จะก้าวไปสู่การทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ของ SCM เราจึงควรทำความเข้าใจบทบาทและหน้าที่ที่ Logistics มีต่อ SCM เพื่อให้สามารถประยุกต์ SCM ต่อระบบการบริหารงานและธุรกิจของเราในยุค e-Business ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

     Logistics คือ?

     Logistics มีฐากฐานจากการบริหารและจัดส่งสรรพาวุธ กองกำลัง และเสบียง เพื่อสนับสนุนการทำศึกสงครามทางการทหาร ก่อนที่ภาคธุรกิจจะนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อบริหารการจัดส่งวัตถุดิบสู่สายพานการผลิตสินค้า และการนำสินค้าสำเร็จรูปไปสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่ลูกค้าได้ทันความต้องการและอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค

     นอกจากการตระหนักถึงเวลาหรือความทันต่อความต้องการ และระยะทางหรือการขนส่งไปได้ทั่วถึงทุก ๆ ภูมิภาคที่ต้องไปให้ถึงแล้ว Logistics ยังต้องตระหนักถึงการบริหารและจัดการทรัพยาการด้านการจัดส่งหรือขนส่ง เช่น บุคลากร ยานพาหนะ และเชื้อเพลิง ให้ทำงานสอดประสานกับเวลาและระยะทางอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

     Logistics จึงเป็นเครื่องมือเชิงยุทธวิธีทางธุรกิจ ที่มีส่วนผสมของศาสตร์การบริหารธุรกิจเป็นส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่เห็นได้ชัดเจน โดยมีตรรกะศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ผิวน้ำเป็นฐานคิดสำคัญ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์มุมมองเชิงวิชาการเกี่ยวกับ Logistics ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ คือ

     – วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อวางแผนและการจัดการระบบการจัดส่งวัตถุดิบ หรือขนส่งสินค้า ได้ตามเป้าหมาย ทั้งเวลา และระยะทาง ที่คุ้มค่าต้นทุนหรือทรัพยากรสูงสุด

     – การจัดการสารสนเทศ เพื่อความคล่องตัวด้านการบริหารการจัดส่งวัตถุดิบ หรือขนส่งสินค้า ให้ได้ผลสำเร็จทางธุรกิจและการตลาดตามเป้าหมายการประยุกต์ใช้ SCM ในยุค e-Business

     – บริหารธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจกระบวนคิดทางธุรกิจ และการแข่งขันทางการตลาด ให้รู้และเข้าใจที่จะอาศัยข้อจำกัด หรือการผ่อนปรนทางภาษี กฎหมาย หรือแม้แต่ค่าขนส่งในแต่ละภูมิภาคหรือประเทศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาดแก่ธุรกิจ

     จากข้างต้น จึงสามารถกล่าวถึงความสำคัญของ Logistics ต่อ SCM และการบริหารธุรกิจ คือ

  1. สนับสนุนการทำงานของระบบย่อยต่าง ๆ ใน SCMให้ทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และสอดประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดSCM ของเรา
  2. เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันทางการตลาด โดยเฉพาะการสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับลูกค้า ที่จะได้รับสินค้าตรงตามที่ต้องการ และภายในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น
  3. ยกระดับการดำเนินธุรกิจของเราให้มีความคล่องตัวสูง เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

     ทั้งหมดนี้ น่าจะเพียงพอต่อการสร้างความเข้าใจถึงความบทบาทของ Logistics ต่อ SCM หรือ Supply Chain Management ในยุค e-Business ได้ ไม่มากก็น้อย!

     และหากท่านผู้สนใจต้องการเข้าใจถึงหลักการของการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและระบบคลังสินค้า การจัดการระบบคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง และการจัดการโซ่อุปทานที่ส่งเสริมความยั่งยืน ตลอดจนการบริหารโครงการและพัฒนากระบวนการธุรกิจ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการบริหารจัดการธุรกิจ e-Commerce ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

     ทางศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย (AMEC) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดสอนหลักสูตร Fast Mini MBA Supply Chain Management for e-Business เพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจ e-Business ด้วยหลักสูตรการจัดการการประสานโซ่อุปทาน ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกจนถึงมือผู้บริโภค แบบเร่งรัด 60 ชม. 19 วิชา โดยนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 16 ท่าน 

คลิกดูรายละเอียดที่ https://amec-ku.org/fast-mini-mba-supply-chain-management-for-e-business

หรือ https://forms.gle/GxNVYLG14CgZZNwd7